การพัฒนาครีมจากสารสกัดลูกประคบสมุนไพร

โดย: นายประภัทร์ เปรมกิจวณิชกุล , น.ส.ปานฝัน เล&    ปีการศึกษา: 2556    กลุ่มที่: 7

อาจารย์ที่ปรึกษา: อัญชลี จินตพัฒนกิจ , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , ดวงดาว ฉันทศาสตร์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ครีม, สารสกัดลูกประคบสมุนไพร, Cetomacrogol 1000, Polyoxyethylene (2) Stearyl ether (Brij S2), Polyo, Topical cream, Herbal compress extract, Cetomacrogol 1000, Polyoxyethylene (2) Stearyl ether (Brij S2), Polyoxyethylene (21) Stearyl ether (Brij S721)
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครีมจากสารสกัดลูกประคบและศึกษาอิทธิพลของสารเพิ่มความชุ่มชื้น (emollient) และสารก่ออิมัลชัน (emulsifier) ต่อคุณสมบัติทางกายภาพของครีม ทาการสกัดสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบของลูกประคบ ได้แก่ ขมิ้นชัน ไพล ตะไคร้บ้าน มะกรูด และหนาด โดยการสกัดแบบไหลผ่านด้วย 95% เอทานอล ส่วนส้มป่อยและมะขาม ใช้วิธีต้มน้าสกัด สารสกัดที่ได้ทาการตรวจหาสารสาคัญด้วยวิธี Thin Layer Chromatography และ Densitometry ทาการพัฒนาครีมจากสารสกัดลูกประคบที่มีตัวยาสาคัญร่วม คือ Methyl salicylate, Menthol และ Eugenol โดยหาชนิดและปริมาณของสารให้ความชุ่มชื้นและสารก่ออิมัลชันที่เหมาะสม จากการประเมินคุณสมบัติทางกายภาพเบื้องต้นของครีมในด้านเวลาในการเกิดครีม,เนื้อสัมผัส,ความสามารถในการนวด,การกระจายตัว,ความเหนอะและความสามารถในการล้างออกด้วยน้า และทาการศึกษาความคงสภาพเบื้องต้นโดยทดสอบที่อุณหภูมิ 4, 30 และ 40 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 15 วัน สุดท้ายใช้แบบสารวจความพึงพอใจเพื่อประเมินลักษณะทางกายภาพของครีมได้แก่ สี กลิ่น ความเนียนและความข้นหนืด ผลการศึกษาพบว่าได้สารสกัดแอลกอฮอล์ 13.83% และสารสกัดน้า 12.80% w/w ซึ่งในสารสกัดแอลกอฮอล์มีปริมาณ curcumin อยู่ 5.98%w/w จากการพัฒนาตารับครีมจากสารสกัดลูกประคบพบว่าครีมที่ประกอบด้วยสารสกัดแอลกอฮอล์ 0.50% และสารสกัดน้า 0.05% w/w โดยใช้ Isopropyl myristate เป็นสารให้ความชุ่มชื้นและใช้ 3% Cetomacrogol 1000, 9% Brij S2 : Brij S721 (2:1) หรือ 12% Brij S2 : Brij S721 (1:2) เป็นสารก่ออิมัลชันที่เหมาะสมมากที่สุด จากแบบสารวจความพึงพอใจพบว่าคะแนนความพึงพอใจในสีและกลิ่นของครีมทั้ง 3 สูตรไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญ คะแนนความพึงพอใจในความเนียนของครีมสูตร 3% Cetomacrogol 1000 และคะแนนความพึงพอใจในความข้นหนืดของครีมสูตร 9% Brij S2 : Brij S721 (2:1) มีคะแนนมากที่สุดอย่างมีนัยสาคัญ และครีมสูตร 3% Cetomacrogol 1000 ได้รับคะแนนความพึงพอใจโดยรวมมากที่สุด โดยผลของการศึกษานี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อใช้พัฒนาครีมแก้ปวดจากลูกประคบสมุนไพรต่อไป ทั้งนี้ควรมีการศึกษาถึงประสิทธิภาพในการรักษาของครีมที่พัฒนาขึ้น
abstract:
This special project aimed to develop topical cream of herbal compress extract and to study the influences of emollient and emulsifier on their physical properties. Ethanol (95%) extract of Turmeric, Zingiber cassumunar, Lemon grass, Leech Lime, Ngai camphor and water extract of Tamarind and Acacia concinna were prepared and analyzed by Thin Layer Chromatography and densitometry methods. Herbal compress extract creams containing methyl salicylate, menthol and eugenol as co-active ingredients were developed by varying type and amount of emollients and emulsifiers. Their physical properties in terms of setting time, texture, massagability, spreadability, stickiness and washability were evaluated. Preliminary stability test of the cream were also studies at 4ฐC, 30ฐC and 40ฐC for 15 days. Finally, the appearances of herbal compress extract creams in term of color, odor, texture and consistency were evaluated by using satisfaction questionnaire. The results indicated that, yields of ethanol and water extracts of herbal compress were 13.83 and 12.80% w/w, respectively. The amount of curcumin in the extract was 5.98% w/w. Three formulae of 0.50% ethanol and 0.05% water extracts of herbal compress extract creams were developed using isopropyl myristate as emollient and 3% Cetomacrogol 1000, 9% Brij S2: Brij S721 (2:1) or 12% Brij S2: Brij S721 (1:2) as emulsifier showed the most suitable. From satisfaction questionnaire, it was found that color and odor of 3 formulae were not significantly different. The satisfaction of cream texture was found with cream using 3% Cetomacrogol 1000, and that of cream consistency was found with cream using 9% Brij S2 : Brij S721 (2:1). However, the herbal compress extract cream with 3% Cetomacrogol 1000 had received the most satisfaction. The results from this study represent helpful information on the development of topical analgesic cream of herbal compress extract. Efficacy of analgesic effect of the cream should be further evaluated.
.