การพัฒนาแผ่นฟิล์มยึดติดเยื่อบุในช่องปากของสิลิจิลีนไฮโดรคลอไรด์

โดย: รัชนก แสงสกุล, วรรณี กันตะสิริพิทักษ์    ปีการศึกษา: 2554    กลุ่มที่: 7

อาจารย์ที่ปรึกษา: วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: แผ่นฟิล์ม, ไคโตซาน, เพคติน, สิจิลีนไฮโดรคลอไรด์, Buccal patch, Chitosan, Mucoadhesive, Pectin,Selegiline Hydrochloride
บทคัดย่อ:
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาแผ่นฟิล์มสิลิจิลีนไฮโดรคลอไรด์เพื่อการนำส่งยาผ่านทางกระพุ้งแก้มสำหรับการรักษาโรคพาร์กินสันในระยะแรก โดยการเตรียมฟิล์มสิลิจิลีนไฮโดรคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 1.25 มิลลิกรัม ในแผ่นฟิล์มขนาด 2x2 ตารางเซนติเมตร โดยใช้ไคโตซาน เพคติน และคอมเพลกซ์ของสารทั้งสองเป็นสารสร้างฟิล์ม ที่อัตราส่วนไคโตซาน:เพคติน ได้แก่ 1:0, 1:1, 1:2, 1:3 และ 1:4 ในความเข้มข้นของพอลิเมอร์เป็นร้อยละ 0.1 โดยน้ำหนักต่อปริมาตรและให้สร้างคอมเพลกซ์ที่พีเอช 5.5 โดยใช้โพรพิลีนไกลคอลที่ความเข้มข้นร้อยละ 1โดยปริมาตร เป็นสารเพิ่มความยืดหยุ่น จากนั้นประเมินคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของแผ่นฟิล์ม ได้แก่ ลักษณะภายนอก ความหนา น้ำหนัก ความสม่ำเสมอของตัวยาในแผ่นฟิล์ม ความพองตัวของแผ่นฟิล์ม และการปลดปล่อยตัวยาด้วย Franz diffusion cells ผ่านเมมเบรนเซลลูโลสอะซีเตท โดยใช้ฟอสเฟตบัพเฟอร์พีเอช 6.6 เป็นวัฏภาคตัวรับ และวิเคราะห์ปริมาณยาด้วย UV Spectroscopy ที่ 205 นาโนเมตร ผลการทดลอง พบว่า แผ่นฟิล์มไคโตซานมีการพองตัวมากกว่าแผ่นฟิล์มของคอมเพลกซ์ระหว่างไคโตซานและเพคตินทุกอัตราส่วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เนื่องจากคอมเพลกซ์ทำให้โครงสร้างพอลิเมอร์หนาแน่นและแข็งแรงขึ้น โมเลกุลน้ำจึงแทรกผ่านเข้าไปได้ลดลง ผลการปลดปล่อยยาบ่งชี้ว่าแผ่นฟิล์มไคโตซานมีปริมาณยาที่ปลดปล่อยออกมาได้น้อยกว่าแผ่นฟิล์มคอมเพลกซ์ระหว่างไคโตซานและเพคตินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P<0.05) จากการศึกษาด้วย FT-IR spectrophotometry พบว่าไคโตซานเกิดอันตรกิริยากับสิลิจิลีนไฮโดรคลอไรด์ เป็นผลให้ไม่เกิดการปลดปล่อยตัวยาออกจากแผ่นฟิล์มไคโตซาน
abstract:
The objective of this special project was to study and develop buccal drug delivery system of Selegiline hydrochloride for the treatment of early Parkinson’s disease. The Selegiline hydrochloride patches at 1.25 mg/ 2X2 cm2 were prepared by solvent casting method using chitosan (CH), pectin (PC) and the complex of these two polymers (CH-PC) as film formers. The ratios of CH:PC used were1:0,1:1,1:2,1:3,1:4 at 0.1%(W/V).The CH-PC polyelectrolyte complexes were formed at pH 5.5.Propylene glycol at 1%(V/V) was added as a plasticizer. The patches were evaluated for their physicochemical properties in terms of appearance, thickness, weight variation, content uniformity and swelling.In vitro drug release through cellulose acetate membrane was performed using Franz diffusion cells and phosphate buffer pH6.6 as a receptor medium. The concentration of Selegiline hydrochloride was analyzed by UV-spectroscopy at 205 nm.The swelling index of the CH patch was found to be significantly greater than that of all ratios of CH-PC complexed patches (p<0.05).This was due to the fact that the CH-PC complex decreased the swelling property of the patch, leading to a dense matrix which did not allow the penetration of the medium into the patch. The in vitro drug release studies showed that the release of the CH patch was significantly lower than that of all ratios of CH-PC complexed patches(p<0.05).The results from the FT-IR spectroscopy indicated that the interaction between the drug and chitosan would probably occur, leading to the low drug release from the CH patch.
.