การพัฒนาตำรับโลชั่นบำรุงผิว

โดย: เสาวนีย์ กระสานติสุข, หทัยชนก รุณรงค์    ปีการศึกษา: 2549    กลุ่มที่: 7

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปลื้มจิตต์ โรจนพันธุ์ , วิเชษฐ์ ลีลามานิตย์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: โลชั่น , สารสกัดจากรังไหม , ซีริซิน, lotion , Bombyx mori , sericin
บทคัดย่อ:
ซีริซิน เป็นโปรตีนที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ , ยับยั้งเอนไซม์ Tyrosinase , ต้านเชื้อแบคทีเรีย , ป้องกันรังสีอุลตราไวโอเลต , ดูดซึมและปลดปล่อยความชื้นได้ดี ,มีฤทธิ์ชะลอ ริ้วรอย ซึ่ง ซีริซิน เป็นสารสกัดที่ได้จากกระบวนการ สาวไหม โดยจะละลายอยู่ในส่วนที่เป็นน้ำ สามารถนำสารสกัดซีริซินมาใช้ได้โดยกระบวนการ Spray dried จะได้ผงละเอียดสีเหลือง นิยม นำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เนื่องจากมันสามารถจับกับ keratin ของผิวหนังและเส้นผม สร้างเป็นฟิล์มป้องกันและ ดักเก็บความชื้นได้เป็นอย่างดี ทำให้ผิวชุ่มชื้นและอ่อนนุ่ม ซึ่งใน การศึกษานี้ได้เตรียมโลชั่นตามสูตรทั้งหมดต่างๆ 6 สูตร แล้วทำการพัฒนาตำรับในแต่ละสูตร จนกว่าจะได้โลชั่นที่มีคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น ลักษณะเนื้อโลชั่น ความหนืด คุณสมบัติทางเคมี เช่น ความเป็นกรด-ด่าง และ ความคงตัวที่ดีโดยใช้วิธีการประเมินความคงตัวของโลชั่นด้วยวิธี freeze and thaw cycle ทั้งหมด 6 cycles แล้วจึงเลือกสูตรที่ดีมาประมาณ2-3สูตรมาพัฒนาต่อ เพื่อใช้ในการเตรียมตำรับซีริซินโลชั่น และ นำซีริซินโลชั่นมาประเมินความคงตัวอีกครั้งพร้อมทั้ง ประเมินความรู้สึกในการใช้โลชั่นเพื่อหาสูตรตำรับที่ดีที่สุด แล้วจึงนำมาทดสอบในอาสาสมัครที่ เป็นคนสูงอายุ(อายุมากกว่า 50 ปี)ทั้งหมด 14 คน ในการทดลองนี้จะให้อาสาสมัครทาโลชั่นที่ บริเวณแขน โดยแขนข้างนึงทาซีริซินโลชั่น และอีกข้างหนึ่งทาโลชั่นพื้นที่ไม่มีส่วนประกอบของซีริ ซิน เป็นเวลาทั้งหมด 5 สัปดาห์ แล้วจึงประเมินผลของ sericin ในฤทธิ์ของการช่วยลดริ้วรอยโดย เครื่องวัดสภาพผิว พบว่า 50% มีรอยเหี่ยวย่นลดลง และ 92.8 % ผิวมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น เมื่อ เทียบกับโลชั่นพื้น
abstract:
Sericin , a macromolecule protein , posesses antioxidant activities , inhibit enzyme tyrosinase ,protect skin from UV , well protected moisture(sericin can binds to keratin in skin and hair, forming a protective film, highly moisture-binding and filmforming) and antiwrinkle action. Water soluble sericin obtain from degummed silkworm cocoons by spray drying process. In this study, 6 suitable formula lotion bases were prepared following with formulation development. The most 3 suitable formulas were selected to prepare sericin lotion and testing in over 50-year 14 volunteers. In this experiment, volunteers have applied sericin lotion on right arm and base lotion on left arm (single blind method) for five weeks. Assessing the result every week ,using skin visiometer for skin roughness evaluation and corneometer for skin moisture content. The conclusion and data analysis show that the wrinkle of 50% volunteers was decreased and the skin moisture of 92.8 % volunteers was increased compared to the base lotion. ค
.