การพัฒนาแชมพูสมุนไพรขจัดรังแค

โดย: จันจิรา อินตรา,อนุสรา รอดรักษา    ปีการศึกษา: 2542    กลุ่มที่: 7

อาจารย์ที่ปรึกษา: วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาสูตรตำรับสบู่เหลวสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ที่ผิวหนัง โดยทำการทดลองหาฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus aureus ของสารสกัดสมุนไพร 11 ชนิดได้แก่ ทองพันชั่ง (ทั้งต้น) มังคุด (เปลือก) ตะไคร้ (ทั้งต้น) พลู (ใบ) มะกรูด (ทั้งต้น) เทียนกิ่ง (ใบ) เทียนบ้าน (ใบ) บอระเพ็ด (เถา) มะคำดีควาย (ผล) ผักบุ้ง (ทั้งต้น) หมีเหม็น (ใบ) พบว่าสารสกัดจากต้นทองพันชั่ง เปลือกมังคุด ใบพลูและต้นตะไคร้ มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ S. aureus ได้ดี เมื่อนำสารสกัดทั้ง 4 มาหาฤทธิ์เสริมหรือต้านการเจริญเติบโตของเชื้อ S. aureus พบว่า ทองพันชั่งและมังคุด มังคุดและพลู ให้ผลเสริมกันในการต้านการเจริญเติบโตของเชื้อนี้ เมื่อนำสารสกัดผสมที่ได้มาเตรียมเป็นสบู่เหลวสมุนไพร แล้วทำการทดสอบฤทธิ์การยับยั้งต่อเชื้อ S. aureus และเชื้อจุลินทรีย์ตามผิวหนังอื่นได้แก่ Staphylococcus epidermidis, Bacillus subtilis, Escherichia coli, Proteus vulgaris และ Pseudomonas aeruginosa เปรียบเทียบกับสบู่ระงับเชื้อจุลินทรีย์ในท้องตลาดคือ Protex ® พบว่าสบู่เหลวสมุนไพรที่ประกอบด้วยสารสกัดจากเปลือกมังคุด 2.0% มังคุดและตะไคร้รวมกัน 2.0% มังคุด พลูและตะไคร้รวมกัน 2.0% มังคุดและทองพันชั่งรวมกัน 1.0% มีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์แต่ละชนิดแตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาต่อเนื่องโดยการปรับความเข้มข้นหรืออัตราส่วนของสมุนไพรให้มีฤทธิ์ต่อเชื้อจุลินทรีย์ได้กว้างมากขึ้นและพัฒนาคุณสมบัติของสบู่เหลวให้น่าใช้มากขึ้น เพื่อการผลิตในขั้นอุตสาหกรรมต่อไป
abstract:
Antihistamine drops for infants should not contain alcohol. It was the purpose of this project to prepare nonalcoholic antihistamine drop which comprised 2% brompheniramine maleate, 2.5% phenylephrine hydrochloride and 2.5% phenylpropanolamine hydrochloride. Three liquid preparations were prepared. The selection was based on the acceptability by 60 volunteers. The results indicated that there was no significant differences in the acceptability of the three products. One product was evaluated for its stability in various conditions : without alcohol, pH 3 ; with 2.4% alcohol, pH 3 ; with 0.1% EDTA disodium, pH 3 ; with 0.2% sodium metabisulfite, pH 3 ; with 2.4% alcohol, pH 5. The samples were stored at room temperature and at accelerated conditions, i.e. 45 degree, and were evaluated for their physical properties including color, odor and taste, and for the drug concentrations at 1, 2 and 4 months. It was found that their physical properties were unchanged, except the sample containing 0.2% sodium metabisulfite of which the color was yellowish after 1 month of storage. At room temperature, all samples, except the one containing 0.2% sodium metabisulfite and the one of pH 5, were chemically stable upon storage for 4 months. At 45 degree , all samples contained the active drugs less than 90% of the labeled amounts at 1 month
.