การซึมซับประสบการณ์ในการเรียนรู้ และการปรับตัวเพื่อใช้ชีวิต นักศึกษาเภสัชศาสตร์ ของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหิดล

โดย: ทินกร แสงสวัสดิ์, ธีรภัท บูรณกานนท์    ปีการศึกษา: 2553    กลุ่มที่: 66

อาจารย์ที่ปรึกษา: มนทยา สุนันทิวัฒน์ , ปราโมทย์ ตระกูลเพียรกิจ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ประสบการณ์ในการเรียนรู้, การปรับตัวการใช้ชีวิต, นักศึกษาเภสัชศาสตร์มหาลัยมหิดล, learning experience, living in pharmacy school, pharmacy students
บทคัดย่อ:
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการซึมซับประสบการณ์ในการเรียนรู้ของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ และเพื่อสะท้อนความรู้สึกและการปรับตัวเพื่อใช้ชีวิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ในการศึกษาครั้งนี้ใช้เทคนิควิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) โดยทำการคัดเลือกกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 2,3,4 และ 5 อย่างเฉพาะเจาะจง โดยผู้วิจัยจะทำการออกแบบแนวทางในการสัมภาษณ์อย่างคร่าวๆกับอาจารย์ที่ปรึกษา จากนั้นจะนำประเด็นคำถามที่ได้มาทำการสนทนากลุ่ม กับนักศึกษาผู้ให้ข้อมูลโดยประเด็นที่ทำการสนทนาจะประกอบด้วย 3 ประเด็นหลักคือ การซึมซับประสบการณ์ในการเรียนการทำกิจกรรม และการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมถึงกระบวนการในการปรับตัวเพื่อใช้ชีวิตนักศึกษาทั้ง 3 ส่วนดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า การใช้ชีวิตของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ทั้งในส่วนของการเรียน การดำเนินชีวิตประจำวัน และการทำหรือเข้าร่วมกิจกรรมมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างมาก โดยนักศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า ด้วยการซึมซับเนื้อหาการเรียนการสอนที่ค่อนข้างอัดแน่น และชั่วโมงการสอนที่ค่อนข้างยาวนาน จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน บุคลิกลักษณะของนักศึกษา รวมถึงการจัดสรรเวลาว่างที่เหลือเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาเป็นอย่างมาก ประกอบกับการจัดสรรพื้นที่ที่ยังไม่เพียงพอ และไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการทำกิจกรรมต่างๆของนักศึกษา ส่งผลต่อการใช้ชีวิตทางสังคมและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของนักศึกษา รวมถึงความสุขในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย และการแสดงตัวตนของนักศึกษาเป็นอย่างมาก ดังนั้นสมควรที่ทางคณะจะให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการเรื่องชั่วโมงการเรียนการสอนและพื้นที่ภายในคณะ เพื่อที่นักศึกษาจะได้ใช้ชีวิตการเรียน การทำกิจกรรม การมีสัมพันธ์ทางสังคมร่วมกับผู้อื่น รวมถึงดำเนินชีวิตประจำวันในรั้วคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลได้อย่างมีความสุข
abstract:
The purposes of this qualitative study were to understand embodying process of pharmacy students’ lives and to express feelings and coping strategies used by the students to continue their students’ lives in pharmacy school. Focus group Discussion were utilized, and 2th, 3th, 4th and 5th year pharmacy student were purposively selected. After loose-structured questions were designed by researchers and their advisors .selected issues were discussed with informants. Focus group discussion consisted of three main topics, including embodying process of learning experiences, activity participation, and everyday life living experiences of pharmacy student, as well as coping techniques created by pharmacy students to survive their college lives Results showed that learning practices, daily life experiences and activity involvement of pharmacy students were considerably related. Heavily compressed learning contents and very lengthy learning periods affected student’, daily live, personality, and leisure time for activity participation in addition, specific space for students were inadequately allocated and inappropriately selected, social lives and relations, happiness, and self presentation of pharmacy students were significantly interrupted Therefore issues about learning period and specific space for pharmacy students should be emphasized and considered to create the happy context of learning process, activity participation, social relations and everyday live experience pharmacy student
.