บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ยา 2010

โดย: ปรัชญา ประทานมิตร, สรรเพชญ เพ็ชรประกอบ    ปีการศึกษา: 2553    กลุ่มที่: 61

อาจารย์ที่ปรึกษา: เนติ สุขสมบูรณ์ , บรมพจน์ พฤติวนาสัณฑ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: บทเรียนช่วยสอน, CAI, เอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ยา, Medilet, Computer assisted instruction, CAI, Drug identification, Medilet
บทคัดย่อ:
ปัจจุบันยาที่มีใช้ในประเทศไทยในรูปแบบของยาเม็ดและแคปซูลมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งที่เป็นยาต้นแบบและยาที่ผลิตตามชื่อสามัญทางยา ยาทุกตัวต่างมีรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป ในการพิสูจน์เอกลักษณ์ทางยา ต้องอาศัยข้อมูลทางกายภาพของเม็ดยา ดังนั้นหากมีการรวบรวมรายละเอียดของเม็ดยา และจัดทำเป็นฐานข้อมูล จะช่วยให้การพิสูจน์เอกลักษณ์ทางยาเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว Medilet© เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงเป็นระยะ เพื่อให้ง่ายในการพิสูจน์เอกลักษณ์ทางยา โดยสามารถใช้ข้อมูล เช่น รูปแบบ รูปทรง สี ขนาด กลุ่มยา ชื่อทางการค้า หรือ ชื่อสามัญทางยา ใส่ในโปรแกรมเพื่อการพิสูจน์เอกลักษณ์ของเม็ดยา และในบทเรียนคอมพิวเตอร์นี้ได้รวบรวมลักษณะและข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มยาที่ใช้มากในประเทศไทย ซึ่งข้อมูลยาที่ปรากฏในบทเรียนประกอบด้วย ชื่อทางการค้า ชื่อสามัญทางยา ข้อมูลความปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์คำแนะนำสำหรับหญิงให้นมบุตร ข้อบ่งใช้ ขนาดที่ใช้ กลไกการออกฤทธิ์ อาการข้างเคียง คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย คำแนะนำทั่วไป เป็นต้น บทเรียนคอมพิวเตอร์นี้ได้ใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการเขียนโปรแกรม ทั้งนี้ ได้มีการประเมินความพึงพอใจและประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ในกลุ่มผู้ใช้ รวมถึงนักศึกษาเภสัชศาสตร์ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 67 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก
abstract:
In Thailand, there are many drugs in capsule or tablet dosage forms were used including the original and the local made. All of them have difference images. In order to confirm identification of each drug, its physical property should be clarified and collected. Have to make drug identification easier more convenience, details and basic information of pills are needed. A Computer Assisted Instruction (CAI), namely Medilet©, has periodically developed to make all end user identify each drug easily. The CAI identify drugs by entering some data e.g. dosage form, shape, color, size, drug category, trade name or generic name. In addition, the CAI includes detailed characteristics and basic information of drug. The information consists of trade name, generic name, pregnancy category, breast feeding recommendation, indication, dosage regimen, mechanism of action, adverse effect, patient’s dispensing information, general advices, for example. The CAI was generated from selected software. In this study, the satisfaction and benefit from the program are evaluated by using the questionnaire among the users including pharmacy students. We found that 67 % of responders were rated as high satisfaction.
.