ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะของน้ำมันหอมระเหย

โดย: บุษนันท์ สุขฤทัยวรกุล, สุทธิดา พุกสุริย์วงศ์    ปีการศึกษา: 2553    กลุ่มที่: 6

อาจารย์ที่ปรึกษา: มัลลิกา ชมนาวัง , นันทวัน บุณยะประภัศร    ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา

Keyword: น้ำมันหอมระเหย, ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย, ซูโดโมแนส แอรูจิโนซา ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ , essential oil, antimicrobial activity, drug resistant Pseudomonas aeruginosa
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรองหาน้ำมันหอมระเหยและสารออกฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านซูโดโมแนส แอรูจิโนซาสายพันธุ์ดื้อยา การศึกษาฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหย 17 ชนิด ได้แก่ กะเพรา กระชาย กานพลู(ดอกตูมและใบ) ขมิ้น ข่า ตะไคร้ ตะไคร้หอม ใบฝรั่ง พลู ไพล มะกรูด(ผลและใบ) มะนาว แมงลัก โหระพา และเปลือกอบเชยที่มีผลต่อการเจริญของซูโดโมแนส แอรูจิโนซาสายพันธุ์มาตรฐานและสายพันธุ์ดื้อยาที่แยกได้จากผู้ป่วย 20 สายพันธุ์ ด้วยวิธี broth microdilution รวมทั้งแยกและตรวจสอบสารออกฤทธิ์ในน้ำมันหอม-ระเหยที่มีฤทธิ์ดีที่สุดด้วยวิธี Thin layer chromatography และ Bioautography พบว่า น้ำมัน-หอมระเหยจากเปลือกอบเชย ตะไคร้ และกานพลู(ดอกตูม) มีฤทธิ์ต้านซูโดโมแนส แอรูจิโนซา สายพันธุ์มาตรฐานดีที่สุดเป็น 3 ลำดับแรก โดยมีค่า MIC เท่ากับร้อยละ 0.225, 1.8 และ 1.8 (ปริมาตร/ปริมาตร) ตามลำดับ และค่า MBC ของน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกอบเชยเท่ากับร้อย-ละ 0.225 (ปริมาตร/ปริมาตร) ส่วนค่า MBC ของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้และกานพลู(ดอก-ตูม)นั้นมากกว่าร้อยละ 1.8 (ปริมาตร/ปริมาตร) ผลการศึกษาฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยทั้งสามชนิดข้างต้นต่อซูโดโมแนส แอรูจิโนซาสายพันธุ์ดื้อยา 20 สายพันธุ์ พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกอบเชยมีฤทธิ์ต้านเชื้อดีที่สุด โดยมีค่า MIC ระหว่างร้อยละ 0.0562-0.225 (ปริมาตร/ปริมาตร) และค่า MBC ระหว่างร้อยละ 0.1125-1.8 (ปริมาตร/ปริมาตร) รองลงมาคือ น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ มีค่า MIC ระหว่างร้อยละ 0.45-1.8 (ปริมาตร/ปริมาตร) และค่า MBC ระหว่างร้อยละ 0.9 หรือมากกว่า 1.8 (ปริมาตร/ปริมาตร) ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากกานพลู(ดอกตูม) มีค่า MIC ระหว่างร้อยละ 0.9 หรือมากกว่า 1.8 (ปริมาตร/ปริมาตร) และค่า MBC ตั้งแต่ ร้อยละ 1.8 (ปริมาตร/ปริมาตร) ผลการจากทดลองคาดว่าสารสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซา คือ ซินนามาลดีไฮด์ และยูจีนอล ผลการศึกษาจากโครงการพิเศษนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการศึกษาฤทธิ์ต้านซูโดโมแนส แอรูจิโนซาสายพันธุ์ดื้อยาของน้ำมันหอมระเหยต่อไป
abstract:
The purposes of this study are screening for antimicrobial activity of essential oils and identifying their active compounds against antibiotic resistant Pseudomonas aeruginosa. In this study, 17 essential oils were investigated, including holy basil oil, finger root oil, clove oil, clove leaf oil, turmeric oil, galanga oil, lemongrass oil, citronella oil, guava leaf oil, betel vine oil, plai oil, kaffir lime oil, kaffir lime leaf oil, lemon oil, hairy basil oil, holy basil oil and cinnamon bark oil. The standard strain and twenty clinical strains of P. aeruginosa were tested for antimicrobial activity by broth microdilution method. Moreover, thin layer chromatography and bioautography were used to identify the active compounds of the highest antimicrobial activity of essential oil. The results showed that cinnamon bark oil, lemongrass oil and clove oil were highly effective essential oils against the standard P. aeruginosa strain with MIC of 0.225, 1.8 and 1.8%v/v. The MBC of cinnamon bark oil was 0.225%v/v while the other two oils were more than 1.8%v/v. Cinnamon bark oil showed the strongest antimicrobial activity against all antibiotic resistant P. aeruginosa strains with MIC of 0.0562-0.225%v/v and MBC of 0.1125-1.8%v/v. Lemongrass oil was ranked in the second with MIC of 0.45-1.8%v/v and MBC varied from 0.9 upto higher than 1.8%v/v. Additionally, clove oil showed MIC varied from 0.9 upto higher than 1.8%v/v and MBC from 1.8%v/v. The results demonstrated that the active components of cinnamon bark oil could be cinnamaldehyde and eugenol. The results of this study can be used as preliminary data for further study on antimicrobial activitiy of the essential oils against resistant P. aeruginosa.
.