การพัฒนาตำรับไฟโบรอินอิมัลเจลเพื่อการรักษาแผลที่มีการติดเชื้อ

โดย: ชนิตา ธีระนันทกุล, ดนัย ศิริบรรจงโชค    ปีการศึกษา: 2549    กลุ่มที่: 6

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปลื้มจิตต์ โรจนพันธุ์ , วิเชษฐ์ ลีลามานิตย์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: อิมัลเจลไฟโบรอิน, ต้นหญ้าเกล็ดหอย (Hydrocotyle sibthorpioides Lam.), แผลที่มีการติดเชื้อ, Fibroin emulgel, Ya - klet hoi (Hydrocotyle sibthorpioides Lam.), Infectious wound
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้เป็นการพัฒนาตำรับอิมัลเจลไฟโบรอินตำรับเดิมที่มีคุณสมบัติในการ รักษาแผลได้เป็นอย่างดี และ ผ่านการทดลองทางคลินิกมาแล้ว ให้มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อ โดยใช้ สารสกัดสมุนไพรจากต้นหญ้าเกล็ดหอยที่ช่วยในการต้านเชื้อเหมือนยาปฏิชีวนะ ในขั้นตอนการ สกัดสารจากต้นหญ้าเกล็ดหอยใช้ Ethanol 80%เพื่อสกัดสารและใช้ Hexaneเพื่อแยกคลอโรฟิลล์ ออก ได้สารสกัดมาทั้งสิ้น 3 ส่วน คือ ส่วนที่สกัดคลอโรฟิลล์ออกแล้ว , ส่วนที่ยังมีคลอโรฟิลล์อยู่ และ ส่วนที่อยู่ในชั้นของ Hexane นำทั้ง 3 ส่วนไปทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อสแตฟิโลคอคคัส ออเรียส ที่ มักก่อให้เกิดการติดเชื้อที่แผล โดยใช้วิธีเจาะหลุมและวัด Inhibition Zone หาค่า MIC พบว่าสาร สกัดส่วนที่ยังมีคลอโรฟิลล์อยู่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้ดีที่สุด มีค่า MIC 10 mg/ml โดยในการทดลองใช้ Tetracycline เป็นสารมาตรฐานในการเปรียบเทียบ นำสารสกัดหญ้าเกล็ดหอยส่วนที่ ยังมีคลอโรฟิลล์อยู่มาตั้งตำรับรวมกับตำรับอิมัลเจลไฟโบรอินเดิม โดยใช้ความเข้มข้นเป็น 3 เท่า ของค่าMICได้ตำรับเป็นเนื้อครีมสีเขียว ละเอียดและมีความเหนียวข้นพอสมควร นำตำรับไป ทดสอบโดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งนำไปทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อโดยใช้วิธีเดิม พบว่าตำรับนี้มี ส่วนประกอบของ polymer ที่จับสารสกัดไว้ในตำรับ ทำให้ไม่สามารถแพร่เข้าไปออกฤทธิ์ได้ จึงใช้ สารละลายอินทรีย์คือ CaCl2 : Ethanol : H2O ในอัตราส่วน 1:2:8 และ Ethanol 80 % เป็นตัวทำ ละลายก่อนไปทดสอบ ซึ่งเทียบได้กับการนำครีมไปทาให้กระจายไปบนผิว ซึ่งทำให้ตัวยาสามารถ สัมผัสกับเซลล์ได้ โดยวัดขนาดzone เปรียบเทียบกับยาที่มีขายในท้องตลาดคือ Bactroban®(Mupirocin) และGaramycin® (Gentamycin) พบว่า ในตัวทำละลายแรก ไม่พบฤทธิ์ ในการต้านเชื้อ ส่วนในEthanol พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อเล็กน้อยในตำรับที่ไม่มีสารสกัดไหมเป็น ส่วนประกอบ คาดว่าการใส่สารสกัดไหมลงไปจะทำให้เกิดการยึดจับของสารในตำรับที่แตกต่างไป ดังนั้นสารสกัดต้นหญ้าเกล็ดหอยน่าจะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการรักษาแผลติดเชื้อได้ หากมี การนำไปพัฒนาต่อไป
abstract:
This special project is a development of fibroin emulgel for having an antibacterial activity by using Ya - klet hoi extract which has an antibacterial activity likes antibiotics. Fibroin emulgel formulation have been proved to have a good property in wound healing. Ethanol 80% was used for the first step in the extraction process and followed by the used of hexane to separate the chlorophyll. Three parts of extract , containing chlorophyll part, non-chlorophyll part and hexane part , were obtained and subjected to test the activity against Staphylococcus aureus (S. aureus) , which is the main cause of infectious wound , by using well–diffusion method and MIC detection. The chlorophyll part showed the best activity against S. aureus which gave MIC of 10 mg/ml compared to tetracycline as a reference standard. Fibroin emulgel formulation was obtained by using concentration of chlorophyll part at 3 times of MIC. The activity of emulgel was tested against S. aureus by 2 methods. Firstly, the previous mention method was used. Secondly, CaCl2 : Ethanol : H2O in ratio of 1:2:8 and ethanol 80% were used to dissolve the emulgel before the test by assuming that the manner is like a spreading of cream on the skin which make the cream be able to contact with the cells. The test was compared with Bactroban® and Garamycin®. The negative result was obtained which assuming that the addition of fibroin into the formulation will make a different binding of substance with the gel base. Anyway, the extract from Ya - klet hoi could be a new choice for the treatment of the infectious wound which needs to be more development. กิ
.