การพัฒนายาบ้วนปากสมุนไพรชนิดผงฟู่ |
โดย: วรพล ไตรรัตนทรงพล,วรรณพร อิ่มผ่อง ปีการศึกษา: 2545 กลุ่มที่: 6 อาจารย์ที่ปรึกษา: วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: ยาบ้วนปาก,สมุนไพร,ผงฟู่, Mouthwash, Herbal, Effervescent powder |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับยาบ้วนปากชนิดผงฟู่ ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรไทย การทดลองทำโดยการพัฒนาตำรับยาพื้นของยาบ้วนปากชนิดผงฟู่ที่ประกอบไปด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต กรดมะนาว กรดมะขาม และคัดเลือกยาพื้นที่มีคุณสมบัติที่ดีที่สุดมาบดผสมกับผง freeze dried ของสารสกัดสมุนไพรที่คาดว่าจะมีฤทธิ์ต้านเชื้อในช่องปาก โดยใช้ Tween 20 และ polyethylene glycol 4000 เป็นสารช่วยทำละลาย ได้ยาบ้วนปากสมุนไพรชนิดผงฟู่ 4 ตำรับที่มีส่วนประกอบและสมุนไพรแตกต่างกัน โดยตำรับที่ 1 ประกอบด้วยผง freeze dried ของสารสกัดใบข่อยด้วยแอลกอฮอล์ 50%ที่ความเข้มข้น 6% ตำรับที่ 2 ประกอบด้วยผง freeze dried ของสารสกัดชะเอมไทยด้วยน้ำที่ความเข้มข้น 32% ตำรับที่ 3 ประกอบด้วยผง freeze dried ของสารสกัดชะเอมไทยด้วยแอลกอฮอล์ 50% ที่ความเข้มข้น 32% ตำรับที่ 4 ประกอบด้วยผง freeze dried ของสารสกัดใบข่อยด้วยแอลกอฮอล์ 50% ที่ความเข้มข้น 6% และผง freeze dried ของสารสกัดชะเอมไทยด้วยน้ำที่ความเข้มข้น 8% จากการประเมินคุณสมบัติทางกายภาพของยาบ้วนปากชนิดผงฟู่พบว่าผงยาทั้ง 4 ตำรับมีลักษณะแห้งไม่เกาะกัน มีสีและกลิ่นที่ดี โดยตำรับที่ 1 และ 4 ผงยามีการไหลดีที่สุด เมื่อเก็บไว้ 1 เดือนในที่ควบคุมความชื้นพบว่าผงยาตำรับที่ 1 และ 4 มีลักษณะทางกายภาพไม่เปลี่ยนแปลง แต่ผงยาตำรับที่ 2 และ 3 ดูดความชื้นและจับตัวกันเป็นก้อน จากการประเมินความพึงพอใจพบว่า ผู้ทดสอบส่วนใหญ่ชอบลักษณะของผงยาและสารละลายของผงยาตำรับที่ 4 มากที่สุด โดยที่ไม่ชอบกลิ่นของสมุนไพรตำรับที่ 1 มากที่สุด และไม่ชอบความสามารถในการเกิดฟองฟู่ของตำรับที่ 2 และ 3 มากที่สุด ผลการทดลองนี้สรุปได้ว่า ผงยาตำรับที่ 4 มีคุณสมบัติและความคงตัวดีที่สุดและมีความพึงพอใจต่อผู้บริโภคมากที่สุด |
abstract: The aim of this study is to develop effervescent mouthwash powder containing Thai herbal extracts. The experiment was performed by developing effervescent bases used sodium bicarbonate, citric acid and tartaric acid. The base which showed best properties was selected and incorporated with freeze dried powder of herbal extracts, which were reported to have antimicrobial activity in oral cavity. Tween 20 and polyethylene glycol 4000 were used as solubilizing agents. Four formulations of herbal effervescent mouthwash powder were obtains. Formulation 1 contained 6 % freeze dried powder of 50% alcoholic extract of Streblus asper Lour. leaves. Formulation 2 and 3 contained 32% freeze dried powder of water and 50% alcohol extracts of Albizia myriophylla Benth., respectively. Formulation 4 contained 6 % freeze dried powder of 50% alcoholic extract of Streblus asper Lour leaves and 8% of freeze dried powder of water extract of Albizia myriophylla Benth. By evaluating physical properties of 4 formulations, it was found that all formulations were dried powder without aggregation which had good odor and color. Formulations 1 and 4 obtained the powder which had highest flowability. After 1 month storage in desicator, physical properties of formulation 1 and 4 were unchange, while formulations 2 and 3 were hygroscopic and became melted mass. From the assessment of subjects’ satisfaction, the results revealed that majority of the subjects accepted physical appearance of the powder and mouthwash solution of formulation 4. Odor of herbal extract in formulation 1 was mostly unacceptable, and effervescent of formulations 2 and 3 was the worst. In conclusion, formulation 4 showed good appearance and stability, and was obtained the highest subject’ satisfaction. |
. |