การพัฒนายาสีฟันสมุนไพร

โดย: อรวดี เลิศยิ่งยศ,อรวรรณ ดุลยสถิตย์    ปีการศึกษา: 2541    กลุ่มที่: 6

อาจารย์ที่ปรึกษา: วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับยาสีฟันที่มีคุณภาพดี และมีส่วนผสมของสมุนไพรไทย การทดลองเริ่มจากการคัดเลือกยาพื้นของยาสีฟันที่มีคุณสมบัติเหมาะสม จำนวน 3 ตำรับ นำมาผสมกับสารสกัดสมุนไพรที่คาดว่าจะมีฤทธิ์ต้านเชื้อในช่องปาก ได้เป็นยาสีฟันสมุนไพร 3 ตำรับ คือ ตำรับที่ 1 ยาสีฟันทึบแสงสีน้ำตาล มีสารสกัดสมุนไพรปริมาณ 9.5% ของตำรับ ได้แก่ ข่อย ชะเอมไทย เนียมหูเสือ และเกลือ ตำรับที่ 2 ยาสีฟันเจลใสสีเหลืองน้ำตาล ประกอบด้วยส่วนสมุนไพร 5% ของตำรับ ได้แก่ เนียมหูเสือ ว่านหางจระเข้ และเกลือ ตำรับที่ 3 ยาสีฟันทึบแสงสีเทาดำ ประกอบด้วยสารสกัดสมุนไพร 5% ของตำรับ ได้แก่ กระชาย สีเสียดเหนือ เกลือ และตำรับยามหานิล จากการประเมินคุณสมบัติทางกายภาพของยาสีฟันทั้ง 3 ตำรับ พบว่าเมื่อเก็บไว้ 1 เดือน ตำรับที่ 1 สี กลิ่น และ pH ไม่เปลี่ยนแปลง โดยมีความหนืดลดลงเพียงเล็กน้อย ตำรับที่ 2 กลิ่นและ pH ไม่เปลี่ยนแปลง สีเข้มขึ้น ความหนืดลดลงเล็กน้อย ตำรับที่ 3 สีและกลิ่นไม่เปลี่ยนแปลง pH เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนความหนืดลดลงมาก สำหรับคุณสมบัติในการต้านเชื้อในช่องปากทดสอบโดยวิธี Agar diffusion ของ Kirby-Bauer พบว่า ยาสีฟันตำรับที่ 1 และ 3 เท่านั้นมีฤทธิ์ต้านเชื้อ Porphyromonas gingivalis strain W 50 ที่ความเข้มข้นเริ่มต้น โดยตำรับที่ 3 มีฤทธิ์ต้านเชื้อได้จนถึงความเข้มข้น 1:32 แต่ไม่มีตำรับใดเลยที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Streptococcus mutans strain GS-5 จากการประเมินความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้ยาสีฟันจำนวน 50 คน ผลปรากฏว่า ผู้ทดลองใช้ส่วนใหญ่ชอบยาสีฟันตำรับที่ 1 ที่ระดับปานกลาง มีข้อดีคือ ไม่ระคายปาก แต่มีข้อเสียที่ต้องปรับปรุงคือ ฟองน้อย ตำรับที่ 2 ผู้ทดลองใช้ส่วนใหญ่ชอบมาก ข้อดีคือ ไม่ระคายปาก ข้อเสียคือ ความซ่าน้อยเกินไป ส่วนตำรับที่ 3 ผู้ทดลองใช้ส่วนใหญ่รู้สึกเฉยๆ ข้อดีคือ ไม่ระคายปาก แต่มีข้อเสียที่ต้องปรับปรุงได้แก่ ความหนืด สี ฟอง และความเย็นสดชื่น
abstract:
The aim of this project was to develop herbal toothpaste formulas with effective oral cleaning and antibacterial activities. Three toothpaste bases which showed good physical properties were selected. The three bases were then incorporated with herbal extract which was expected to have antibacterial activity in oral cavity. The first formula was brownish toothpaste containing 9.5% herbal extract of Streblus asper Lour., Albizia myriophylla Benth., Plectranthus amboinicus (Lour.) Spreng. and salt. The second formula was yellow-brownish gel toothpaste containing 5% herbal extract of Coleus amboinicus Lour. , Aloe vera Linn. var. chinensis (Haw.) Berg. and salt. The third formula was dark grey toothpaste containing 5% of Mahanin Recipe, herbal extract of Boesenbergia rotunda (Linn.) Mansf., Acacia catechu (Linn. f.) Willd. and salt. From physical stability testing after one month storage, the results showed that the color, flavor and pH of the first formula remained unchanged while the viscosity slightly decreased. The flavor and pH of the second formula remained unchanged whereas the color became darker and the viscosity slightly decreased. The color and flavor of the third formula remained unchanged; however, its pH slightly increased and viscosity apparently decreased. When the test for antibacterial activity in oral was evaluated by the method of Kirby-Bauer’s agar diffusion, it was found that the first and the third formulas had effectiveness in resisting of Porphyromonas gingivalis strain W50. The first formula had resistance only at undiluted concentration. Whereas the third formula had resistance upto 1:32 dilution. However, none of these three formulas had the effect on anti-Streptococcus mutans strain GS-5. From the assessment of subjects’satisfaction, it was concluded that most of the subjects moderately liked the first formula which was non-oral irritation, but it had low foaming action. Most subjects very much liked the second formula and were pleased with its non-oral irritation but claimed that it was low mouth cooling sensation. Most subjects were found neither like nor dislike the third formula and agreed that it was non-oral irritation but its viscosity, color, foam and freshness should be improved.
.