แนวทางการผลิตเครื่องสำอางในโรงงานเครื่องสำอาง

โดย: นพรัตน์ วัชรปราการ,นันทมน กมลคุณากร    ปีการศึกษา: 2537    กลุ่มที่: 6

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปลื้มจิตต์ โรจนพันธุ์ , พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
ปัจจุบันนับว่าเครื่องสำอางมีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์เช่นกัน นอกเหนือจากปัจจัยสี่และยานพาหนะ จากการสำรวจพบว่า อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสำอางยังไม่ได้รับการพัฒนาและควบคุมมาตรฐานเท่าที่ควร การศึกษานี้จึงเป็นการสำรวจแนวโน้มของการผลิตเครื่องสำอางต่างๆ ในโรงงานเครื่องสำอางในประเทศ อันจะเป็นแนวทางในการจัดเน้นการเรียนการสอนด้านเครื่องสำอางให้เหมาะสมกับความต้องการของสังคม และยกระดับมาตรฐานเครื่องสำอางให้ทัดเทียมหรือดีกว่าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ ซึ่งเครื่องสำอางแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เครื่องสำอางควบคุมและเครื่องสำอางทั่วไป วิธีการสำรวจแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งเป็นการส่งแบบสอบถาม จำนวน 150 ฉบับ ไปยังโรงงานเครื่องสำอาง ได้รับกลับมาจำนวน 30 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 20.0 ส่วนที่สองเป็นการสัมภาษณ์โดยตรงจำนวน 15 โรงงาน รวมทั้งสิ้น 45 โรงงาน พบว่าโรงงานร้อยละ 47.73 มีเภสัชกร และส่วนใหญ่โรงงานเครื่องสำอางต้องการเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านคิดค้นและพัฒนาตำรับ (Research and Development) ร้อยละ 40.82 รองลงมาคือ วิเคราะห์และตรวจสอบในขั้นตอนการผลิตและผลิตภัณฑ์ (Q.A, Q.C) ร้อยละ 32.65 โรงงานเครื่องสำอางในขณะนี้ ส่วนมากผลิตแชมพู (16.8%), ครีมนวดผม (12.93%) และผลิตภัณฑ์ บำรุงผิว (15.52%) และมีแนวโน้มในการผลิตเพิ่มในอนาคตคือ สบู่เหลว เป็นส่วนใหญ่ (20.37%) รองลงมาคือผลิตภัณฑ์บำรุงผิว (14.81%) ผลการศึกษาและการสำรวจครั้งนี้ จะช่วยชี้แนะแนว ทางในการพัฒนาการเรียนการสอนในด้านเครื่องสำอาง ให้เป็นไปตามความต้องการของสังคม เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานเครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศ และเพื่อลดการสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศ
abstract:
Nowadays , cosmetic and toiletries are necessary for our daily life but the quality and the standard of the product are not much interested. this study was the survey of the production trend industries in order to rearrange the course according to the market trend together with introducing the new technology in the cosmetic science The study was divided into two parts. the first part,150 questionaries were send to random cosmetic industries with 205 returned. The second part is to interview the pharmacists or production manager of 15 industries. There are 47.73% of industries which has pharmacists on duty and most of them would like to have the pharmacist who are expert in cosmetic : research and development ( 40.82% ) and qulity control and quality assurance ( 32.65% ) . On the production , shampoo was produced the most ( 16.80% ) and the later was hair conditioner ( 12.93% ). The tendency of the production is liquid soap ( 20.37% ) and the tendency of the production is the liquid soap ( 20.37% ) and the skin care products ( 14.81% )
.