การทบทวนเอกสารอย่างเป็นระบบและการอภิวิเคราะห์ผลของพาราเซตามอลเปรียบเทียบกับไอบูโพรเฟน และพาราเซตามอลร่วมกับไอบูโพรเฟนในการลดไข้ในผู้ป่วยเด็ก

โดย: ภัทราวดี จิระอนันต์กุล, มนธีรา ยอดวัลลภ    ปีการศึกษา: 2552    กลุ่มที่: 59

อาจารย์ที่ปรึกษา: จุฑามณี สุทธิสีสังข์ , เนติ สุขสมบูรณ์ , นลินี พูลทรัพย์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวิทยา

Keyword: พาราเซตามอล, ไอบูโพรเฟน, ไข้, การทบทวนเอกสารอย่างเป็นระบบ, การอภิวิเคราะห์, Paracetamol, Ibuprofen, Fever, Systematic review, Meta-analysis
บทคัดย่อ:
พาราเซตามอลและไอบูโพรเฟนเป็นยาที่นิยมใช้ในการลดไข้ในผู้ป่วยเด็ก จึงมีการศึกษาทางคลินิกเพื่อเปรียบเทียบผลของพาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน และการใช้ยาสองชนิดร่วมกันในการลดไข้ในผู้ป่วยเด็กหลายงานวิจัย ผู้วิจัยจึงได้ทำการทบทวนเอกสารอย่างเป็นระบบ(Systematic review) และการอภิวิเคราะห์(Meta-analysis) เพื่อประเมินประสิทธิผลในการลดไข้ของยาดังกล่าว โดยคำที่ใช้สืบค้นในงานวิจัยคือ “paracetamol”, “ibuprofen”, “children” และ “fever” สืบค้นจากฐานข้อมูล “The Cochrane Central Register of Controlled Trials” ปีค.ศ.2009 ฉบับที่ 3 และ“Medline” ระหว่างปีค.ศ. 1966-2009 จำกัดเพียงงานวิจัยชนิด randomized controlled trials (RCT) ผลการสืบค้นพบ 45 รายงานวิจัย และมีเพียง 8 รายงานวิจัยที่เข้าเกณฑ์การศึกษาอภิวิเคราะห์ โดยมีจำนวนผู้ป่วยรวมทั้งสิ้น 1,138 คน ผลการอภิวิเคราะห์ พบว่าไอบูโพรเฟนขนาด5-10มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมให้ประสิทธิผลในการลดไข้ที่เวลา 2และ4 ชั่วโมงหลังได้รับยาเหนือกว่าพาราเซตามอลขนาด 10-15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (pooled mean difference -0.12°c [95% CI, -0.22°c ถึง -0.01°c, P = 0.03] ที่เวลา2ชั่วโมง และ -0.19°c [95% CI, -0.31°c ถึง -0.07°c, P = 0.002]) ในขณะที่ประสิทธิผลในการลดไข้ ของยาทั้งสองที่เวลา 1ชั่วโมงหลังการรักษาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (-0.04°c [95% CI, -0.13°c ถึง 0.05°c, P = 0.41]) การใช้ยาพาราเซตามอลร่วมกับไอบูโพรเฟน ให้ประสิทธิผลในการลดไข้ที่เวลา 2 และ 4 ชั่วโมงหลังการได้รับยาเหนือกว่าการใช้พาราเซตามอลเพียงอย่างเดียว โดยประมาณค่าผลดังกล่าวได้ -0.42°c (95% CI, -0.52°c ถึง -0.31°c, P = 0.00001) และ -0.58°c (95% CI, -0.70°c ถึง -0.46°c, P = 0.00001) ตามลำดับ จากผลการอภิวิเคราะห์สรุปได้ว่า ไอบูโพรเฟน และพาราเซตามอลร่วมกับไอบูโพรเฟน มีประสิทธิผลในการลดไข้ ในผู้ป่วยเด็กอายุ 6 เดือนถึง 6 ปี เหนือกว่าพาราเซตามอลเพียงอย่างเดียว
abstract:
Paracetamol and ibuprofen are the most frequently used antipyretic medications in children. Furthermore, these medications have been tested in a number of randomized control trails that are widely interpreted as demonstrating efficacy for reduced body temperature. Systematic review and meta-analysis was conducted to assess the efficacy of ibuprofen and combination of paracetamol and ibuprofen compared with paracetamol in the treatment of fever in children. The following medical subject heading terms “paracetamol”, “ibuprofen”, “children” and “fever” were searched in “The Cochrane Central Register of Controlled Trials” (2009, Issue 3rd) and “Medline” (1966 to August 2009). In this search, only randomized controlled trials (RCT) were recruited. Forty-five studies were found, only eight studies were eligible for meta- analysis. The total number of patients was 1,138. The results from meta-analysis revealed that the mean difference in the change in body temperature between ibuprofen (5-10 mg/kg/dose) and paracetamol (10-15 mg/kg/dose) at 2 and 4 hours after medication was in favour of ibuprofen (pooled mean difference -0.12°c [95% CI, -0.22°c to -0.01°c, P = 0.03] at 2 hours and -0.19°c [95% CI, -0.31°c to -0.07°c, P = 0.002] at 4 hours). However, the effect on body temperature of these two drugs was not significantly different at 1 hour after treatment (-0.04°c [95% CI, -0.13°c to 0.05°c, P = 0.41]). The combination of paracetamol and ibuprofen was superior to paracetamol alone. The estimated effects were -0.42°c (95% CI, -0.52°c to -0.31°c, P = 0.00001) and -0.58°c (95% CI, -0.70°c to -0.46°c, P = 0.00001), respectively at 2 and 4 hours post-dose. According to meta-analysis, it was concluded that ibuprofen and combined paracetamol and ibuprofen were more effective than paracetamol alone in treating fever in children aged 6 months to 6 years.
.