พฤติกรรมการใช้ฮอร์โมนเพศหญิงของนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร |
โดย: วทัญญู โตเจริญนิรัติศัย, วนาลี คุณทน ปีการศึกษา: 2552 กลุ่มที่: 58 อาจารย์ที่ปรึกษา: จงกล เที่ยงดาห์ , นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวิทยา Keyword: ฮอร์โมนเพศหญิง, ยาคุมกำเนิด, ยาเสริมฮอร์โมนเพศหญิง, ยาต้านฮอร์โมนเพศชาย, นักเรียนชายระดับมัธยมศึกษา, Female Sex Hormone, Contraceptives, Female Hormone Supplements, Anti-androgenic Agents, Male High School Students |
บทคัดย่อ: การใช้ฮอร์โมนเพศหญิงเป็นปัญหาหนึ่ง ที่พบได้ในนักเรียนชายที่มีความต้องการที่จะเปลี่ยนลักษณะภายนอกให้คล้ายเพศหญิง โครงการพิเศษนี้ทำการศึกษาวิธีการใช้ ชนิด รูปแบบ ขนาดและผลข้างเคียงของยากระตุ้นลักษณะเพศหญิง ได้แก่ ยาคุมกำเนิด ยาเสริมฮอร์โมนเพศหญิง และยาต้านฮอร์โมนเพศชาย โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาจำนวน 550 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่งในกรุงเทพมหานคร จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า มีนักเรียนชายที่ใช้ยากระตุ้นลักษณะเพศหญิงจำนวน 107 คน (ร้อยละ 19.45) ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ที่ปัจจุบันยังคงใช้อยู่อย่างต่อเนื่อง 96 คน (ร้อยละ 89.72) และผู้ที่เคยใช้แต่ปัจจุบันไม่ใช้แล้ว 11 คน (ร้อยละ 10.28) ทั้ง 107 คน (ร้อยละ 100) ใช้ยาคุมกำเนิด ซึ่งมีผู้ใช้เฉพาะยาคุมกำเนิดเพียงอย่างเดียว 4 คน (ร้อยละ 3.74) ใช้ยาคุมกำเนิดร่วมกับยาเสริมฮอร์โมนเพศหญิง 23 คน (ร้อยละ 21.50) ใช้ยาคุมกำเนิดร่วมกับยาต้านฮอร์โมนเพศชาย 11 คน (ร้อยละ 10.27) และใช้ยาทั้ง 3 ชนิดร่วมกัน 69 คน (ร้อยละ 64.49) สำหรับรูปแบบของยาเหล่านี้ที่นักเรียนใช้มีทั้งยารับประทานและยาฉีด แต่ยาคุมกำเนิดและยาต้านฮอร์โมนเพศชายที่ใช้มีเฉพาะชนิดรับประทาน ผู้ใช้ยาเสริมฮอร์โมนเพศหญิง 92 คน มี 28 คน (ร้อยละ 30.43) ที่ใช้เฉพาะชนิดรับประทาน ที่เหลือ 64 คน (ร้อยละ 69.57) ใช้ทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีด ปัญหาที่พบจากการใช้ยา ได้แก่ การใช้ยาที่ไม่เหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น การใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน ขนาด ความถี่ในการใช้ยา และการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ ดังนั้นผลการศึกษานี้จึงให้ข้อมูลสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในการให้ความรู้แก่นักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาเกี่ยวกับการใช้ยาคุมกำเนิด ยาเสริมฮอร์โมนเพศหญิง และยาต้านฮอร์โมนเพศชาย เพื่อการกระตุ้นลักษณะเพศหญิง |
abstract: Female sex hormone usage is one of the problems found in male high school students who have cross-sex behavior. Thus, this special project is aimed to research usage method, type and dosage form of drug, dose and adverse effects from using contraceptives, female hormone supplements, and anti-androgenic agents. The research method is collecting data from questionnaires responded by 550 male high school students in 2 high schools located in Bangkok. According to data analysis, the results show that 107 male students use female sex hormone. There are 11 past-users (10.28% of female sex hormone users) and 96 continuing-users (89.72%). All 107 students take contraceptives, 92 students take female hormone supplements, and 80 students take anti-androgenic agents. There are four students using only contraceptives (3.74% of female sex hormone users), 23 students using contraceptives combined with female hormone supplements (21.50%), 11 students using contraceptives combined with anti-androgenic agents (10.27%), and 69 students using all three types combined (64.49%). Contraceptives are used only in oral dosage form. Though 92 female hormone supplements users, there are 28 users who take only oral form (30.43% of female hormone supplements users) and 64 users who take oral form combined with injection (69.57%). The problems of drug usage are incorrect dose usage, incorrect usage method, and adverse effects. There are still male students educated incorrectly. Thus, this study may be a guide to suggest the correct female hormone usage; in aspect of dose, usage method, adverse effects, and action taken before and during drug usage, to male high school students who have cross-sex behavior for desired outcomes and avoiding possible adverse effects. |
. |