ผลการสำรวจการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพรในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

โดย: ภัทรพร ชดช้อย,ภารดี ศรีสุวรรณธัช    ปีการศึกษา: 2544    กลุ่มที่: 56

อาจารย์ที่ปรึกษา: จงจิตร อังคทะวานิช , นพเทพ หิมะทองคำ    ภาควิชา: ภาควิชาอาหารเคมี

Keyword: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, สมุนไพร, โรคเบาหวาน, Dietary supplement, Herbs, Diabetes
บทคัดย่อ:
ในปัจจุบันมีการนำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพรมาใช้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาได้ โครงการพิเศษนี้จึงได้ทำการศึกษาความถี่ และพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และสมุนไพร โดยใช้แบบสอบถามร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จากแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเทพธารินทร์ จำนวน 110 คน เป็นผู้ป่วยชาย 36 ราย และหญิง 74 ราย อายุเฉลี่ย 62.1±12.3 ปี ผลการสำรวจพบว่าผู้ป่วย 70% และ 80% เคยได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และ สมุนไพร ตามลำดับ โดยได้รับข้อมูลจากบุคคลใกล้ชิดมากที่สุด ผู้ป่วย 63.7%ใช้หรือเคยใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และ/หรือ สมุนไพร โดยมีผู้ป่วย 25.5% ใช้หรือเคยใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในจำนวนนี้ 44.4% ใช้นานกว่า 1 ปี ผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคือเพื่อนหรือบุคคลใกล้ชิด (55.6%) รองลงมาคือใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ (18.5%) วัตถุประสงค์ของการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารส่วนใหญ่ ใช้เพื่อบำรุงร่างกายทั่วไป (48.2%) รองลงมาคือเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (44.4%) ลักษณะของการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 96.2% ใช้ร่วมไปกับการใช้ยาแผนปัจจุบัน สำหรับกรณีการใช้สมุนไพร ผู้ป่วยที่เคยใช้สมุนไพรมีมากกว่าผู้เคยใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 2 เท่า (51.8%) โดยใช้ร่วมไปกับการใช้ยาแผนปัจจุบัน (94.7%) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ตอบว่าจะใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (70.4%) และสมุนไพร (61.4%) ต่อไป ถึงแม้ว่าจะมีผู้ป่วยเพียงส่วนน้อยที่ตอบว่าใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และ/หรือ สมุนไพร เพื่อทดแทน หรือลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน (5.7%, 4/70) ซึ่งน่าจะน้อยกว่าความเป็นจริง แต่เหตุผลหลักของการใช้ คือการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้น แพทย์และเภสัชกร ควรให้ความสนใจในการซักถามผู้ป่วยเกี่ยวกับใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพร ในผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อมิให้มีผลกระทบต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในระยะยาว
abstract:
Dietary supplements and herbs now gain increasing popularity in chronic diseases such as diabetes. Replacing these products with hypoglycemic drugs may affect glycemic control and may lead to serious complications of diabetes. This study attempts to survey frequency and consuming behavior on the use of dietary supplements and herbs in type 2 DM OPD patients of Theptharin Hospital by interviewing using a questionnaire. Subjects consisted of 110 patients, 36 males and 74 females aged 62.1 + 12.3 years. The result shows that 70% and 80% of all subjects have obtained information about dietary supplements and herbs respectively primarily from families and friends. 63.6% of all subjects use or ever used dietary supplements and/or herbs while 25.5% of patients use or ever used dietary supplements. 44.4% of subjects who use dietary supplements use them longer than 1 year. Families and friends (55.6%) have the most influence in dietary supplements use followed by physicians ‘ advice (18.5%). The main objectives in using dietary supplements are health promotion(48.2%) and glycemic control (44.4%). 96.2% of subjects using dietary supplements use them concomitantly with hypoglycemic drugs. Regarding herbs, our data shows that subjects use or ever used herbs twice as frequent as these using dietary supplements (51.8%) and use them as adjunct of hypoglycemic drugs (94.7%). Most subjects who use dietary supplements(70.4%) and herbs (61.4%) determine to continue their use. Although, there are very few patients who report using dietary supplements and/or herbs in replacement or decreasing use of hypoglycemic drugs (5.7%,4/70),which may be an underreport, the truth about the subjects ‘ belief on dietary supplements and herbs for glycemic control could be an indirect information. Therefore care should be taken for physicians and pharmacist to educate DM patients about the use of dietary supplements and herbs in order to prevent the long term effect on glycemic control.
.