การทบทวนเอกสารอย่างเป็นระบบและการอภิวิเคราะห์เปรียบเทียบผลของวาเรนิคลีนกับนอร์ทริปไทลีนในการช่วยอดบุหรี่ |
โดย: นายพิริยะ ไข่รอด,นายสโรช อภิชาติกุลชัย ปีการศึกษา: 2555 กลุ่มที่: 55 อาจารย์ที่ปรึกษา: มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ , อุษา ฉายเกล็ดแก้ว ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: การอดบุหรี่, วาเรนิคลีน, นอร์ทริปไทลีน, การทบทวนเอกสารอย่างเป็นระบบ, การอภิวิเคราะห์ , Smoking cessation, Varenicline, Nortriptyline, Systemic review, Meta-analysis |
บทคัดย่อ: การอภิวิเคราะห์แบบเครือข่ายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวาเรนิคลีน (varenicline) กับนอร์ทริปไทลีน (nortriptyline) ในการช่วยอดบุหรี่ ในการศึกษาครั้งนี้งานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมที่ประเมินประสิทธิผลของวาเรนิคลีนหรือนอร์ทริปไทลีนในการช่วยอดบุหรี่ ที่สืบค้นได้จากฐานข้อมูล Medline และ the Cochrane Controlled Trials Register ระหว่างปี ค.ศ.1966-2012 และการสืบค้นจากบรรณานุกรมของงานวิจัยที่เข้าเกณฑ์การศึกษาจะถูกเลือกมาทำการวิเคราะห์ โดยทำการเปรียบเทียบทางตรงระหว่างวาเรนิคลีนหรือนอร์ทริปไทลีนกับยาหลอก (placebo) และทำการเปรียบเทียบวาเรนิคลีนและนอร์ทริปไทลีนทางอ้อม ผลลัพธ์หลักของการเปรียบเทียบระหว่างวาเรนิคลีนกับนอร์ทริปไทลีน คือ ความชุกของการหยุดสูบบุหรี่ได้ติดต่อกันนาน 7 วันที่สัปดาห์ที่ 12 โดยยืนยันผลการหยุดบุหรี่จากค่าคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจ (end-expiratory carbon monoxide) ที่ระดับ < 10 ppm และ/หรือโคตินินในปัสสาวะ(urinary cotinine) < 60 ng/ml การอภิวิเคราะห์ครั้งนี้วิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรม WinBUGS 1.4.3 จากงานวิจัยที่ค้นได้จากฐานข้อมูลโดยใช้คำสำคัญทั้งหมด 182 งานวิจัยพบว่ามี 13 งานวิจัย (จำนวนผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 6,588 คน) เข้าเกณฑ์การศึกษาอภิวิเคราะห์ ผลจากเปรียบเทียบทางตรงพบว่าทั้งวาเรนิคลีน (OR = 4.26, 95%CI = 3.46-5.23) และนอร์ทริปไทลีน (OR = 2.73, 95%CI = 1.84-3.94) มีประสิทธิภาพในการช่วยอดบุหรี่เหนือกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ผลจากการเปรียบเทียบทางอ้อมพบว่าประสิทธิภาพในการช่วยอดบุหรี่ของยาทั้งสองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR = 1.65, 95%CI = 0.93-2.70) จากการศึกษานี้ให้ผลยืนยันชัดเจนว่านอร์ทริปไทลีนมีประสิทธิภาพในการช่วยอดบุหรี่ได้ อย่างไรก็ตามควรมีการทำการศึกษาเพิ่มเติมเปรียบเทียบระหว่างวาเรนิคลีนกับนอร์ทริปไทลีนในระยะยาวโดยใช้ผลลัพธ์ทางคลินิกอื่นๆ นอกจากนี้ควรจะมีการศึกษาเพื่อประเมินความคุ้มค่าเปรียบเทียบระหว่างวาเรนิคลีนกับนอร์ทริปไทลีนเพิ่มเติมต่อไป |
abstract: The aim of this study is to determine the efficacy of varenicline versus nortriptyline in smoking cessation using a network meta-analysis. Only randomised controlled trials assessing varenicline or nortriptyline in smoking cessation were included. MEDLINE and the Cochrane Controlled Trials Register from 1966 to 2012 were searched. Additional studies were identified by searching bibliographies of included studies. Direct evidence comparing varenicline or nortriptyline and placebo were assessed. Varenicline was then indirectly compared with nortriptyline. The primary outcome was 7-day-point prevalence of abstinence at week 12, confirmed by end-expiratory carbon monoxide level < 10 ppm and/or urinary cotinine level < 60 ng/ml. The meta-analysis was conducted using the WinBUGS 1.4.3 software. Of 182 identified articles, 13 studies (n=6,588) were included in the analysis. The results from direct comparison meta-analysis revealed that both varenicline and nortriptyline were found to be more efficacious than placebo: varenicline (OR=4.26, 95%CI=3.46-5.23) and nortriptyline (OR=2.73, 95%CI=1.84-3.94). On the other hand, the result from Indirect comparison revealed no statistically significant difference between varenicline and nortriptyline (OR=1.65, 95%CI=0.93-2.70). The result from this study clearly confirmed the benefit and potential use of nortriptyline in smoking cessation. Nevertheless, long term study comparing nortriptyline with varenicline on other different clinical outcomes should be further examined. In addition, economic evaluation study should be carried out to examine the cost-effectivenes of nortriptyline as compared to varenicline. |
. |