ความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคยาต้านจุลชีพและการดื้อยาต้านจุลชีพ ณ โรงพยาบาลสงฆ์

โดย: นายณัฐวุฒิ วงศ์ศรีชัชวาล,นางสาวศิริวัฒนา สร้อยเกรียว    ปีการศึกษา: 2555    กลุ่มที่: 54

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปรีชา มนทกานติกุล , มัลลิกา ชมนาวัง , เฉลิมศรี ภุมมางกูร , ปริญดา พีรธรรมานนท์ , ศรันย์ กอสนาน    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: การดื้อยา, คาร์บาพีเนม, ปริมาณการใช้ยา, ซูโดโมแนส แอรูจิโนซา, อะซินีโตแบคเตอร์ , resistance, carbapenems, antibiotic consumption, Pseudomonas aeruginosa, Acinetobacter spp.
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังจากข้อมูลปริมาณการใช้ยา imipenem และ meropenem ในรูปแบบ Defined Daily Dose (DDD) ต่อ 1,000 ผู้ป่วยใน–วัน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2549 ถึง 31 ธันวาคม 2554 และหาความสัมพันธ์ของแนวโน้มการดื้อยาของเชื้อ Pseudomonas aeruginosa และ Acinetobacter spp. ต่อยาทั้ง 2 ชนิด พร้อมทั้งคำนวณ Antibiotic Heterogeneity Index (AHI) ของยาต้านจุลชีพ 5 ชนิด ได้แก่ imipenem, meropenem, ertapenem, ciprofloxacin และ cefoperazone/sulbactam ผลการศึกษาพบว่า DDD ต่อ 1,000 ผู้ป่วยใน–วัน ของยา imipenem ตั้งแต่ปี 2549 ถึงปี 2554 คือ 20.54, 19.51, 18.72, 25.01, 30.23 และ 24.32 ตามลำดับ และของยา meropenem คือ 8.96, 6.81, 5.24, 5.01, 11.69 และ 22.07 ตามลำดับ และอัตราการดื้อยาของเชื้อ P. aeruginosa แบบ non-MDR ต่อยา imipenem ตั้งแต่ปี 2549 ถึงปี 2554 คือ ร้อยละ 2.86, 10.42, 8.57, 12.9, 22.31และ 25.15 ตามลำดับ และของยา meropenem คือ ร้อยละ 2.86, 7.45, 14.29, 14.77, 23.14 และ 20.96 ตามลำดับ ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาทั้งสองชนิดกับอัตราการดื้อยาของเชื้อ P. aeruginosa แบบ non-MDR แบบไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.736 ; p > 0.05 และ r = 0.508 ; p > 0.05) และมีค่า AHI เท่ากับ 0.73, 0.75, 0.78, 0.67, 0.69 และ 0.76 ตามลำดับ โดยสรุปแล้ว การใช้ยาต้านจุลชีพเพิ่มขึ้นส่งผลให้อัตราการดื้อยาเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และยังไม่มีการใช้ยาต้านจุลชีพหลากชนิดให้เท่าเทียมกันมากนัก
abstract:
The purpose of this special project was to studied the relationship between antibiotic consumption and resistance of P.aeruginosa and Acinetobacter spp. A retrospective study was collected information of imipenem and meropenem consumption with defined daily dose (DDD) per 1000 inpatient-day during January, 1st 2006 to December, 31st 2011, and then were compared with resistance rate of P. aeruginosa and Acinetobacter spp. Simultaneously, Antibiotic Heterogeneity Index (AHI) was estimated by measuring the ratios for the five antibiotic consist of imipenem, meropenem, ertapenem, ciprofloxacin and cefoperazone combination. The result showed that DDD/1,000 pt-day of imipenem since year 2006 were 20.54, 19.51, 18.72, 25.01, 30.23 and 24.32 respectively and meropenem were 8.96, 6.81, 5.24, 5.01, 11.69 and 22.07 respectively. The resistance rate of non-MDR P.aeruginosa to imipenem were increased from 2.86% in 2006 to 25.15% in 2011, and meropenem were increased from 2.86% in 2006 to 20.96% in 2011. Correlation analysis demonstrated possible relationship between carbapenems consumption and non-MDR P.aeruginosa resistance but no statistically significant difference was found (r = 0.736 ; p > 0.05 และ r = 0.508 ; p > 0.05). Antibiotic Heterogeneity Index (AHI) since year 2006 were 0.73, 0.75, 0.78, 0.67, 0.69 and 0.76 respectively. In conclusion, increasing rate of antibiotic resistance was related to antibiotic consumption, but no statistically significant difference was found.
.