อันตรายจากการใช้สมุนไพร |
โดย: วราภรณ์ รัตนะ,ศศิธร กิจไพบูลย์ทวี ปีการศึกษา: 2544 กลุ่มที่: 54 อาจารย์ที่ปรึกษา: ยุวดี วงษ์กระจ่าง , สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ , บุญเทียม คงศักดิ์ตระกูล ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา Keyword: อันตรายจากการใช้สมุนไพร, อาการไม่พึงประสงค์, ปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างสมุนไพรกับยา, Harmful of medicinal plants, Adverse effect, Herb-drug interaction |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมอันตรายที่เกิดจากการใช้สมุนไพรและปฏิกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยา ซึ่งรวบรวมจากสมุนไพรที่มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายโดยสืบค้นจาก websites ต่างๆ เช่น Medline, Pubmed, FDA, Google ในช่วงปี ค.ศ.1990-2001 และจากสำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล คำที่ใช้สืบค้นคือ herb and toxicity, herb-drug interaction และชื่อสมุนไพรเช่น Ginkgo, st.John’s wort, Grapefruit นอกจากนี้ยังรวบรวมข้อมูลจากวารสารทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการสัมภาษณ์ จากข้อมูลที่รวบรวมได้สามารถจำแนกตามอันตรายที่เกิดขึ้นได้เป็น 7 กลุ่ม คือ 1) สมุนไพรที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ เช่น นมผึ้ง ฟ้าทะลาย 2) สมุนไพรที่ทำให้เกิดพิษต่อตับและไต เช่น ขี้เหล็ก, Aristolochia fangchi 3) อาการไม่พึงประสงค์ที่สัมพันธ์กับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เช่น กระเทียมทำให้เกิดอาการเลือดออกผิดปกติ โสมออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทมากเกินไป 4) สมุนไพรที่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ 5) การใช้สมุนไพรผิดชนิด 6) ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีการปนเปื้อนโดยเฉพาะโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท สารหนู 7) สมุนไพรที่มีการปลอมปนสารซึ่งมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ได้แก่ steroid, NSAIDs นอกจากนี้ยังพบการเกิดปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างสมุนไพรกับยาที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งจำแนกได้ตามเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลนศาสตร์ เช่น grapefruit มีผลต่อเมตาบอลิซึมของ cyclosporin, calcium-channel blockers เป็นต้น ดังนั้นเมื่อมีความประสงค์ในการใช้สมุนไพรชนิดใดก็ตามควรคำนึงถึงอาการไม่พึงประสงค์และการเกิดปฏิกิริยาสัมพันธ์กับยาที่ใช้ร่วมกันถึงแม้ว่าสมุนไพรบางชนิดยังไม่มีรายงานหรือมีรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ค่อนข้างน้อย และอาการไม่พึงประสงค์บางอย่างอาจใช้เวลานานกว่าจะแสดงอาการออกมา ดังนั้นจึงควรเฝ้าระวังในการใช้สมุนไพร |
abstract: This special project is to review available evidence about the harmfulness of medicinal plants and herb-drug interactions. The information was collected from many websites such as Medline, Pubmed, FDA, Google in 1990-2001, database of Medicinal Plant Information center, Mahidol University and from journals. The keywords were herb and toxicity, herb-drug interaction and name of herb. The adverse effects form medicinal plants can be classified into 7 types 1) Allergic reactions such as Royal jelly, Andrographis paniculata 2) Toxic reaction to liver and kidney such as Senna siamea, Aristolochia fangchi 3) Adverse effects related to the desired pharmacological actions such as Allium sativum Linn. ,Panax gingseng 4) Possible mutagenic effects 5) Mistaken plants 6) Contamination of heavy metal 7) Adulterants such as steroid, NSAIDs. In addition, herb-drug interaction is also summarized in term of pharmacokinetic and pharmacodynamic. For examples, grapefruit juice has effect on metabolism of some drug such as cyclosporin, calcium-channel blockers. Therefore from this study indicate that some plants used for medicinal purposes are associated with serious risks. Therefore we should be aware in using medicinal plants. |
. |