การรวบรวมข้อมูลผลของสมุนไพรต่อการรักษาด้วย ยาแผนปัจจุบันในโรคความดันโลหิตสูง |
โดย: นางสาว กัญญ์วรา ถนอมชาติ, นางสาว ปภาวดี วิชนะโภชน์ ปีการศึกษา: 2557 กลุ่มที่: 53 อาจารย์ที่ปรึกษา: ยุวดี วงษ์กระจ่าง , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , เพ็ญโฉม พึ่งวิชา , วสุ ศุภรัตนสิทธิ ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา Keyword: ยาลดความดันโลหิต, สมุนไพร, CYP, P-gp และ drug-herb interaction in hypertension, antihypertensive drugs, herbs, CYP, P-gp, drug-herb interaction in hypertension |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล สมุนไพรที่อาจเกิดอันตร-กิริยากับยาลดความดันโลหิต โดยสืบค้นข้อมูลจากหนังสือ, websites และ ฐานข้อมูล online คาที่ใช้ในการสืบค้นคือ ยาลดความดันโลหิต, สมุนไพร, CYP, P-gp และ drug-herb interaction in hypertension พบว่าสมุนไพรบางชนิดเช่นกระเทียม, ขมิ้นชัน, ตรีผลา, บอระเพ็ด, บัวบก, แป๊ะก๊วย, ฟ้าทะลายโจร, มะรุมและโสม อาจมีผลต่อระดับยาลดความดันโลหิตในเลือดผ่านทางกลไก CYP และ P-gp นอกจากนี้ยังพบว่าสมุนไพรบางชนิด ได้แก่ ชะเอมเทศ, มะขามแขก, ยอ, Juniper Berries, กระเจี๊ยบแดง, กวาวเครือแดง, ปลาไหลเผือก, กระชายดา, ขิงและพริกอาจเพิ่มการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ของยาลดความดันโลหิตได้ เช่น ภาวะความดันต่า ภาวะโปแตสเซียมสูง หรือ โปแตสเซียมต่า ซึ่งอาจทาให้ผู้ป่วยเกิดอันตรายจากยาลดความดันโลหิตได้ จึงแนะนาให้ใช้ยาลดความดันโลหิตด้วยความระมัดระวังในกลุ่มที่ใช้สมุนไพรดังกล่าวร่วมด้วย ทั้งนี้ผลที่เกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์อาจมีปัจจัยต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ความแปรผันทางพันธุกรรม โรคประจาตัวและอายุเป็นต้น เนื่องจากข้อมูลที่ทาการศึกษาส่วนใหญ่ทาในระดับสัตว์ทดลองและหลอดทดลอง จึงควรมีการศึกษาทางคลินิกเพิ่มเติม |
abstract: The purpose of this project is to collect and analyze the interaction of herbs and antihypertensive drugs. The information were collected from books, databases and websites by using keywords such as herb , antihypertensive drug, CYP, P-gp and drug-herb interaction in hypertension. It was found that Garlic, Turmeric, Terminalia belerica (Gaertn.) Roxb., Terminalia chebula Retz., Phyllanthus emblica L., Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f. & Thomson, Centella asiatica Urban, Ginkgo, Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall. ex Nees., Moringa oleifera Lamk., and Panax ginseng C.A. Meyer might interfere with drug concentration in plasma via the CYP and P-gp pathways. In addition, Licorice, Senna alexandrina P. Miller, Noni, Juniper berries, Roselle, Butea superba Roxb., Tongkat Ali, Kaempferia parviflora Wall. ex Baker, Ginger and Capsicum frutescens L. might increase adverse effects of antihypertensive drugs such as hypotension, hypokalemia or hyperkalemia. Therefore, it is suggested to careful using those herbs with antihypertensive drugs. However, effect of these herbs on antihypertensive drugs in human body might be varied by many factors. Most of the data were collected from animal and in vitro studies. Furthermore, clinical investigation is necessary. |
. |