การประยุกต์ใช้การเทียบเคียงในงานเภสัชกรรมโรงพยาบาล

โดย: อังคณา โสภณวนกิจ, กนกนาฏ บุญมา    ปีการศึกษา: 2552    กลุ่มที่: 53

อาจารย์ที่ปรึกษา: เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: การเทียบเคียง, ตัวชี้วัดทางเภสัชกรรม, ค่าใช้จ่ายด้านยา, การประหยัดต้นทุน, การปฏิบัติที่ดีที่สุด, benchmarking, pharmacy indicator, drug expenditure, cost saving, best practice
บทคัดย่อ:
การเทียบเคียง (benchmarking) เป็นกระบวนการที่เป็นระบบและต่อเนื่องสำหรับการประเมินผลผลิต บริการ กระบวนการทำงาน และเปรียบเทียบกับสิ่งที่เป็นตัวแทนของวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อที่จะทราบว่าควรพัฒนาสิ่งใด สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการเทียบเคียงกับงานบริการในระบบสุขภาพเพื่อลดค่าใช้จ่าย เช่น การใช้ยาในสถานพยาบาล โดยกำหนดสิ่งที่จะวัดเพื่อเทียบ เคียง หรือตัวชี้วัดในการปฏิบัติงาน เช่น ตัวชี้วัดเกี่ยวกับการจ่ายยา และวัดผลการทำงานของโรง พยาบาลในมิติที่สำคัญ ได้แก่ จำนวนรายการเฉลี่ยและมูลค่าต่อใบสั่งยา ร้อยละของใบสั่งยาที่แพทย์จ่ายยาปฏิชีวนะ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ และนำการเทียบเคียงมาประยุกต์ใช้ในงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลในประเทศไทย โดยการสืบค้นข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จากข้อมูลสาธารณสุขของประเทศต่างๆ เช่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา และแหล่ง ข้อมูลอื่น เช่น อินเตอร์เน็ท หนังสือ บทความ ในช่วงปี พ.ศ. 2533 - 2552 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกาได้นำการเทียบเคียงมาประยุกต์ใช้เป็นเทคนิคในการปฏิบัติงานด้านเภสัชกรรมโรงพยาบาล เช่น การเทียบเคียงราคายาสามัญต่อยาต้นแบบ การเทียบเคียงการใช้ยาปฏิชีวนะกับโรงพยาบาลต้นแบบเพื่อลดการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมและลดภาวะ การเกิดดื้อยาปฏิชีวนะ ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านยาในโรงพยาบาล ช่วยติดตามประสิทธิภาพในกระบวนการต่างๆ ของโรงพยาบาล และทำให้การใช้ยาเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น ดังนั้นหากสามารถนำการเทียบเคียงมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย จะนำไปสู่การลดต้นทุนที่เกิดจากการใช้ยาได้ ที่สำคัญประชาชนสามารถเข้าถึงยาได้เมื่อจำเป็นและสามารถใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
abstract:
Benchmarking is the systematic and continuous processes of evaluating products, services, and practices against an organization’s toughest competitors in order to learn what might be improved. Benchmarking is applicable in health care services in order to control health expenditures e.g. prescribing indicators to measure the performance of health care providers in significant dimensions such as average number and cost of drugs per encounter, percentage of encounters with antibiotics. The objective of this study is to gain knowledge about benchmarking and its application in hospital pharmacy of Thailand. Information was collected by searching through electronic health information of some countries (e.g. Canada, the U.S.) and others sources (e.g. internet, book, articles) during 1990-2009. The result revealed that both Canada and the U.S. use benchmarking technique in hospital pharmacy such as comparison of generic to brand name drug prices and benchmarking in antimicrobial drug utilization with the best practice hospital. This helps reduce drug cost, improve efficiency in working process in hospital pharmacy, and lead to more rational drug utilization. Thus, if we could apply the benchmarking technique appropriately within the Thai health context, then we help control overall health expenditures including drug cost. This would improve the efficiency and equity of the three health insurance system in Thailand, especially people can have better access to the needed drug.
.