อุบัติการณ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโลหิตจาง ในผู้ป่วยปลูกถ่ายไต |
โดย: นางสาวจิราภรณ์ ประมงมุข,นางสาวธนาพร แสงเดช ปีการศึกษา: 2560 กลุ่มที่: 52 อาจารย์ที่ปรึกษา: ศยามล สุขขา , ลักขณา สุวรรณน้อย , ภานุพงษ์ พงษ์ชีวิน ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: ภาวะโลหิตจาง, สัมพันธ์, ปัจจัย, อุบัติการณ์, ปลูกถ่ายไต, anemia, association, factor, incidence, kidney transplantation |
บทคัดย่อ: ภาวะโลหิตจางในผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไตเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้น อัตราการรอดของไตที่ลดลง และการเกิดโรคร่วมทางหัวใจและหลอดเลือด โครงการพิเศษนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะโลหิตจางในประชากรไทยที่ได้รับการปลูกถ่ายไต โดยทำการศึกษาเชิงสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยปลูกถ่ายไตที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และได้รับการปลูกถ่ายไตที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่าง พ.ศ. 2557-2558 เป็นจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 259 ราย และติดตามข้อมูลผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 1 ปีหลังปลูกถ่ายไต แบ่งเป็นเพศชายร้อยละ 32.7 และเพศหญิงร้อยละ 67.3 ผลการวิเคราะห์พบว่าอุบัติการณ์เกิดภาวะโลหิตจางที่ 1 ปีหลังปลูกถ่ายไตเป็นร้อยละ 43.6 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง สามารถแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงการเกิดภาวะโลหิตจางหลังปลูกถ่ายไต ได้แก่ ประวัติการได้รับ erythropoiesis stimulating agent ประวัติการได้รับเลือดก่อนปลูกถ่ายไต ระยะเวลาไตวายระยะสุดท้าย อายุของผู้ป่วย การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ การได้รับยา ganciclovir หรือ valgangiclovir และปัจจัยที่ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะโลหิตจางหลังปลูกถ่ายไต ได้แก่ การได้รับไตจากผู้บริจาคมีชีวิต ผู้บริจาคอวัยวะกลุ่ม standard criteria donor ระยะเวลาหลังปลูกถ่ายไต eGFR หลังได้รับการปลูกถ่าย และระดับฮีโมโกลบินก่อนปลูกถ่ายไต ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าภาวะโลหิตจางหลังปลูกถ่ายไตเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในประชากรไทย และพบความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดโลหิตจางหลังปลูกถ่ายไต |
abstract: Post-transplantation anemia (PTA) in kidney transplant patients is one of the major complications that associated with mortality, graft survival and cardiovascular diseases. The objectives of the study were to evaluate the incidence of PTA and determine factors associated PTA in Thai kidney transplant patients. This study was conducted from patients who older than 18 years and received kidney transplantation at Ramathibodi Hospital between 2014-2015. Of 259 patients, the PTA incidence at 1 year was 43.6% which 32.7% were males and 67.3% were female respectively. Factors that increased risk of PTA included history of using erythropoiesis stimulating agent, history of blood transfusion before kidney transplantation, patient’s age, duration of end stage renal disease, urinary tract infection and ganciclovir or valganciclovir prophylaxis. Factors that reduced risk of PTA involved history of living donor recipients, deceased donor with standard criteria, duration after transplantation, eGFR after kidney transplantation and hemoglobin level before kidney transplantation. In summary, PTA in Thai kidney transplant patients was a common complication and there were several factors associated PTA. |
. |