ความเหมาะสมในการจ่ายยาต้านจุลชีพในโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะโดยเภสัชกรชุมชน

โดย: ธกฤษณ์ รุ่งกิจวัฒนกุล, อรรถพล ตันติกำเนิดกุล    ปีการศึกษา: 2552    กลุ่มที่: 52

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปรีชา มนทกานติกุล , ศรันย์ กอสนาน    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ความเหมาะสม, ยาต้านจุลชีพ, โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ, เภสัชกรชุมชน, appropriateness, antimicrobials, urinary tract infections, community pharmacists
บทคัดย่อ:
โรคติดเชื้อเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในร้านยา ที่ซึ่งในปัจจุบันยังคงพบการจ่ายยาต้านจุลชีพอย่างไม่สมเหตุสมผลอยู่มาก เช่น โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น ฉะนั้นจึงเป็นความรับผิดชอบของเภสัชกรชุมชนในการจ่ายยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ของเภสัชกรชุมชนต่อการจ่ายยาปฏิชีวนะรักษาโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ของเภสัชกรชุมชน โดยใช้แบบสอบถามถามเภสัชกรผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการของสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) ผลการศึกษาพบว่า มีเภสัชกรตอบแบบสอบถามจำนวน 120 คน เป็นเพศชาย 48 คนคิดเป็นร้อยละ 40 เพศหญิง 70 คนคิดเป็นร้อยละ 58 ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามมีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 22-74 ปี โดยเภสัชกรส่วนใหญ่เป็นเภสัชกรที่ปฏิบัติงานในร้านยาประจำ จำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 61 โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่เภสัชกรสามารถวินิจฉัยได้ถูกต้องมากที่สุดถึงร้อยละ 89 คือ acute uncomplicated cystitis และเภสัชกรส่วนใหญ่สามารถพิจารณาการคัดกรองผู้ป่วยในกรณีที่ต้องส่งต่อยังโรงพยาบาลได้ถูกถึงร้อยละ 78 โดยโรคที่เภสัชกรเลือกใช้ยาได้อย่างเหมาะสมที่สุดคือโรค acute uncomplicated cystitis คิดเป็นร้อยละ 78 จากการศึกษาผลของความสัมพันธ์พบว่าการจ่ายยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมของเภสัชกรมีความสัมพันธ์กับจำนวนชั่วโมงที่ปฏิบัติการ และการเป็นร้านยาคุณภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) งานวิจัยนี้สรุปว่าเภสัชกรชุมชนจ่ายยาปฏิชีวนะสำหรับโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในบางชนิดได้อย่างเหมาะสม ซึ่งผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เพื่อกำหนดแนวทางพัฒนาความรู้ของเภสัชกรชุมชนเพื่อให้เกิดการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมต่อไปในอนาคต
abstract:
Infectious diseases are among the most common complaint found in community pharmacy where inappropriate prescribing has still been found in many ways, for example, urinary tract infections. Therefore, community pharmacists hold accountable for dispensing the antimicrobial drugs. The purposes of this research were to assess the community pharmacists’ knowledge on their antimicrobials dispensing to treat urinary tract infections and to evaluate the factors influencing their knowledge. The research was conducted by using questionnaires, which were answered by community pharmacists who participated at the Community Pharmacy Association (Thailand) conferences. One hundred and twenty pharmacists answered the questionnaires, 40% were male and 58% were female, ranging from 22 to 74 years old. Sixty percent of pharmacists were fulltime in their pharmacy. Acute uncomplicated cystitis is the most correct diagnosis (89%) and 78% of pharmacists were able to screen the patients who needed referral to the hospital. The most common urinary tract infections that pharmacists chose to dispense the appropriate antimicrobials were acute uncomplicated cystitis (78%). Moreover, the factors that significantly affected the appropriateness of antimicrobials choice included practicing at accredited pharmacy and the number of working hours (p-value <0.05). In conclusion, the community pharmacists could appropriately dispense antimicrobials in some types of urinary tract infections. This research may be utilized to guide the knowledge of community pharmacists for appropriate dispensing of antimicrobials in the future.
.