การรักษาผมร่วงในเพศชาย: การอภิวิเคราะห์แบบเครือข่าย |
โดย: นางสาวศุภศรี ลุประสงค์จิตร์, นางสาวสุพรรณี พงศ์พัฒนานุสรณ์ ปีการศึกษา: 2559 กลุ่มที่: 51 อาจารย์ที่ปรึกษา: มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ , อุษา ฉายเกล็ดแก้ว , ชลากร ชนาทิศรัตน์ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: ไมน็อกซิดิว, ฟิแนสเตอไรด์, ดูแทสเตอร์ไรด์, ผมบางแบบพันธุกรรมในเพศชาย, การวิเคราะห์แบบเครือข่าย, การอภิวิเคราะห์, Minoxidil, Finasteride, Duatasteride, Androgenetic alopecia, Alopecia, Network meta-analysis, Meta-analysis |
บทคัดย่อ: การอภิวิเคราะห์แบบเครือข่ายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของไมน็อกซิดิวที่ใช้ภายนอก 5% ฟิแนสเตอไรด์ชนิดรับประทาน 1 มิลลิกรัม และดูแทสเตอร์ไรด์ชนิดรับประทาน 0.5 มิลลิกรัม และยาหลอก ในการรักษาผมร่วงในเพศชาย การศึกษาครั้งนี้ทำการทบทวนงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมที่ประเมินประสิทธิภาพของยาดังกล่าว ที่สืบค้นได้จากฐานข้อมูล PubMed ระหว่างปี ค.ศ.1983-2016และจากการสืบค้นจากบรรณานุกรมของการวิเคราะห์อภิมานที่เกี่ยวข้อง เกณฑ์การคัดเข้าได้แก่ 1) เป็นการเปรียบเทียบระหว่างไมน็อกซิดิว ที่ใช้ภายนอก 5% ฟิแนสเตอไรด์ชนิดรับประทาน 1 มิลลิกรัม ดูแทสเตอร์ไรด์ชนิดรับประทาน 0.5 มิลลิกรัม และยาหลอก 2) มีการรายงานผลลัพธ์ในรูปของความชุกของผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการใช้ยาซึ่งประเมินด้วยภาพถ่าย (photographic assessment) ที่บริเวณ vertex 3) มีระยะเวลาในการรักษาอย่างน้อย 24 สัปดาห์ และ 4) ทำการศึกษาในเพศชายที่มีอาการผมร่วมชนิด androgenetic alopecia การอภิวิเคราะห์ครั้งนี้ทำการวิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรม Stata13 จากงานวิจัยที่สืบค้นได้จากฐานข้อมูลทั้งหมด 91 งานวิจัยพบว่ามี 12 งานวิจัย ผ่านเกณฑ์การศึกษาที่ตั้งไว้ การเปรียบเทียบผลการประเมินโดยรวมจากภาพถ่ายซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าไมน็อกซิดิว 5% ที่ใช้ภายนอก(pooled odd ratio = 5.57 [95%CI, 3.49 ถึง 8.89]) ฟิแนสเตอไรด์ชนิดรับประทาน 1 มิลลิกรัม (pooled odd ratio = 10.95 [95%CI, 7.69 ถึง 15.61]) และดูแทสเตอร์ไรด์ชนิดรับประทาน 0.5 มิลลิกรัม (pooled odd ratio = 18.39 [95%CI, 9.58 ถึง 35.33]) มีประสิทธิภาพในการรักษาผมร่วงในเพศชายได้เหนือกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้พบว่าไมน็อกซิดิว 5% ที่ใช้ภายนอก ให้ผลด้อยกว่าฟิแนสเตอไรด์ชนิดรับประทาน 1 มิลลิกรัม และดูแทสเตอร์ไรด์ชนิดรับประทาน 0.5 มิลลิกรัมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษานี้ให้ผลยืนยันว่ายาทั้งสามชนิดที่มีขนาดข้างต้นเหมาะสมในการรักษาภาวะผมร่วงในเพศชายดังที่แนะนำไว้ในแนวทางการรักษา อย่างไรก็ตามควรมีการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้ยาต่อไป |
abstract: The aim of this network meta-analysis study is to compare the efficacy of 5% topical minoxidil, 1 mg oral finasteride, 0.5 mg oral dutasteride, and placebo in treatment of male androgenetic alopecia. This study identified all relevant randomized controlled trials assessing the drugs compare with placebo in androgenetic alopecia in men. The studies published between1983 to 2016 were identified from Pubmed database. Additional studies were identified by searching bibliographies of previous network meta-analysis and related systematic review. Inclusion criteria are 1) comparing the efficacy of 5% topical minoxidil, 1 mg oral finasteride, 0.5 mg oral dutasteride and placebo; 2) reporting efficacy in term of prevalence of patients responding to the intervention assessed by photographic assessment method at vertex area; 3) duration of studies ≥24 weeks; and 4) evaluating in men with androgenetic alopecia. The network meta-analysis was conducted using the Stata 13 software. Of 91 identified articles, 12 studies were included in the analysis. The findings indicated that 5% topical minoxidil (pooled odd ratio = 5.57 [95%CI, 3.49 to 8.89]), 1 mg oral finasteride (pooled odd ratio = 10.95 [95%CI, 7.69 to 15.61]) and 0.5 mg oral dutasteride (pooled odd ratio = 18.39 [95%CI, 9.58 to 35.33]) were significantly superior to placebo, when evaluated by expert using global photographic assessment. Nevertheless, the efficacy of 5% topical minoxidil is significantly less than that of oral finasteride and dutasteride. Therefore, the study verifies that all of mentioned treatments are appropriate and deserved to be recommended for treatment of male androgenetic alopecia. Further studies should be conducted to examining adverse events of the treatments before making decision. |
. |