การศึกษาการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยหญิงที่เป็นโรคลมชัก

โดย: น.ส.บุศยา กุลบุศย์, น.ส.ศุภมาส พันธนิติสาร    ปีการศึกษา: 2551    กลุ่มที่: 51

อาจารย์ที่ปรึกษา:    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวิทยา

Keyword: การบริบาลทางเภสัชกรรม, ผู้ป่วยหญิงโรคลมชัก, epilepsy, Pharmaceutical care, female epilepsy patients, epilepsy
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการให้บริบาลทางเภสัชกรรม และศึกษาปัญหาการใช้ยากันชักในผู้ป่วยหญิงโรคลมชัก รวมทั้งการแก้ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาให้แก่ผู้ป่วย โดยสืบค้นข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนและสัมภาษณ์ข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ป่วยและผู้ดูแล หลังจากนั้นจึงได้ทำการวิเคราะห์และค้นหาปัญหาจากการใช้ยา (Drug-related problem, DRP) และรายงานแพทย์ผู้ทำการรักษา โดยทำการศึกษา ณ คลินิกโรคลมชัก สถาบันประสาทวิทยา ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2551 จากการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยหญิงโรคลมชักจำนวน 48 คน อายุระหว่าง 18-60 ปี โดยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น simple partial seizure ทั้งหมด 12 คน, complex partial seizure ทั้งหมด 13 คน ส่วนที่เหลืออีก 23 คน เป็น generalized tonic-clonic seizure จากการสัมภาษณ์และเวชระเบียนพบปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาทั้งหมด 42 ปัญหา ได้แก่ 1) เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 12 ปัญหา เช่น เดินเซ เวียนศีรษะ 2) ไม่ได้รับ folic acid เสริม 9 ปัญหา 3) เก็บรักษายาไม่ถูกวิธี 4 ปัญหา 4) non-compliance 12 ปัญหา เช่น ผู้ป่วยลืมรับประทานยา,ผู้ป่วยรับประทานยาไม่ตรงเวลา 5) เกิดปฏิกิริยาระหว่างยา 4 ปัญหา เช่น การที่ผู้ป่วยได้รับ warfarin ร่วมกับ phenytoin 6) prescribing error 1 ปัญหา นอกจากนี้จากการสำรวจโดยแบบสอบถาม พบว่าผู้ป่วยยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการใช้ยากันชักในผู้หญิง จากข้อมูลข้างต้น เภสัชกรสามารถช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยากันชักรวมทั้งให้ความรู้ และคำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้ยากันชักในผู้ป่วยหญิงโรคลมชัก ซึ่งจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อมูลที่ได้จากโครงการพิเศษนี้สามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรม ในผู้ป่วยหญิงโรคลมชักต่อไปในอนาคต
abstract:
The objectives of this special project were to study the process of pharmaceutical care, and drug-related problems (DRPs) and how to solve DRPs in female epilepsy patients. The study was performed by reviewing the medical records, interviewing the patients and the caregivers. Drug therapy was analysed and drugrelated problems were reported to treating physician. This study was performed at epilepsy clinic, Prasat Neurological Institute during July to September 2008. The pharmaceutical care was performed in 48 female epilepsy cases age range between 18-60 years. Of these, twelve patients had simple partial seizure, thirteen had complex partial seizure and the rest had generalized tonic-clonic seizure. Forty-two DRPs were identified from interviewing the patients, caregivers and reviewing medical records. Categories and the number of DRPs are as follow: 1) twelve adverse drug reactions were identified e.g. ataxia, dizziness, 2) nine without folic acid supplementation, 3) four were improper drug storage, 4) twelve problems of noncompliance e.g. patients forgot to take medications, patients did not take medications in time, 5) four problems of drug-drug interactions e.g. warfarin in combination with phenytoin, and 6) one problem was identified as prescribing error. Furthermore, questionnaires showed that majority of these patients did not have adequate information on factors affecting antiepileptic effectiveness. From this study, it was shown that pharmacists can play a major role in resolving drug-related problems. Besides, pharmacist can educate and counsel patients, caregivers concerning drug knowledge in order to increase the effectiveness of treatment. The data from this study can be applied to develop a pharmaceutical care model for female epilepsy patients in the future.
.