การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการใช้วัคซีนในประเทศไทย |
โดย: นางสาวกมลวรรณ แก้วนพคุณ, นายศานต์ ศึกรักษา ปีการศึกษา: 2559 กลุ่มที่: 50 อาจารย์ที่ปรึกษา: มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ , ศิตาพร ยังคง , อุษา ฉายเกล็ดแก้ว ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: วัคซีน, ประเมินความคุ้มค่า, การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ, Vaccine, Economic evaluations, Systematic review |
บทคัดย่อ: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมงานวิจัยที่เป็นการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์แบบเต็มรูปแบบของการใช้วัคซีนในประเทศไทย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายเกี่ยวกับวัคซีน ทาการสืบค้นงานวิจัยจากแหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิคส์คือ PubMed (Medline) และฐานข้อมูลการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพในประเทศไทย ที่ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. 2525 - 2558 จากการสืบค้นพบงานวิจัยทั้งหมด 315 งานวิจัย และพบว่ามีเพียง 18 งานวิจัยที่มีลักษณะตรงตามเกณฑ์การคัดเลือก โดยเป็นการประเมินความคุ้มค่าของการใช้วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก 4 งานวิจัย วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบชนิดเอ วัคซีนต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้า อย่างละ 2 งานวิจัย วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี วัคซีนป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ Haemophilus influenzae ชนิด b วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ และวัคซีนป้องกันปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต อย่างละ 1 งานวิจัย ซึ่งเมื่อประเมินคุณภาพในงานวิจัยแต่ละฉบับโดยใช้แบบประเมิน CHEERS Checklist พบว่า งานวิจัยทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยของจานวนข้อที่ผ่านตามเกณฑ์ที่ระบุคือ 21 ข้อจากทั้งหมด 24 ข้อ (พิสัยระหว่าง 14 - 24 ข้อ) ทั้งนี้ คุณภาพของงานวิจัยมีแนวโน้มดีขึ้นจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยผลการประเมินความคุ้มค่าจาก 18 งานวิจัย พบว่า มี 9 งานวิจัยที่ระบุว่าการให้วัคซีนมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ในขณะที่อีก 8 งานวิจัยระบุว่าการให้วัคซีนไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และมีอีก 1 งานวิจัยที่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าวัคซีนมีความคุ้มค่าหรือไม่ ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อความคุ้มค่าของการให้วัคซีน คือ อุบัติการณ์การเกิดโรค/การติดเชื้อ ประสิทธิผลของวัคซีน ราคาวัคซีน และกลุ่มเป้าหมายในการให้วัคซีน |
abstract: The aim of this study is to systematically review and summarized the economic evaluation studies of vaccinations conducted in Thailand. Economic evaluation studies on vaccination in Thailand published between 1982 and 2015 were retrieved from PubMed (Medline) and the Thai Health Technology Assessment (HTA) databases. A total of 315 articles were found from the search. Of these, 18 articles have been included in this study. They are economic evaluation studies of human papillomavirus vaccine (4/18), Dengue virus (2/18), Hepatitis A virus (2/18), Influenza virus (2/18), Human Immunodeficiency Virus (2/18), Rotavirus (2/18), Hepatitis B virus (1/18), Haemophilus influenzae type B (1/18), Japanese Encephalitis (1/18), and Pneumococcal Conjugate Virus (1/18). The quality of these studies was evaluated by using Consolidated Health Economic Evaluation Reporting Standards (CHEERS) checklist. Most of the studies have had acceptable quality (mean = 21/24 items, range = 14-24 items). Half of the 18 studies presented that the vaccines were cost-effective, while the other half could not indicate they were cost-effective vaccinations. This review has revealed a number of factors that influence the vaccination’s cost-effectiveness such as incidence of the infection, effectiveness of the vaccine, vaccine price, and target group of vaccination. |
. |