การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ เรื่องอาการท้องเสียจากยาต้านเชื้อแบคทีเรีย

โดย: น.ส.จิรกานต์ หนูเกื้อ ,น.ส.อริสา ศรเลิศล้ำวาณิช    ปีการศึกษา: 2556    กลุ่มที่: 50

อาจารย์ที่ปรึกษา: ธีรัตถ์ เหลืองมั่นคง , จุฑามาศ เจียรนัยกุลวานิช    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวิทยา

Keyword: ท้องเสีย, ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย, สื่อคอมพิวเตอร์, Diarrhea, Antibiotic, Learning media
บทคัดย่อ:
สื่อคอมพิวเตอร์ชุดนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะคัดเลือกและสรุปข้อมูลทางวิชาการที่น่าเชื่อถือของการเกิดอาการท้องเสียจากยาต้านเชื้อแบคทีเรีย เพื่อมาเรียบเรียงและนาเสนอในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหว (stop motion) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งมีข้อดีในการนาเสนอเรื่องราวที่มีความซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่ายมากกว่าการนาเสนอด้วยวิธีอื่นๆ สื่อคอมพิวเตอร์นี้ใช้ระยะเวลาจัดทาประมาณ 3 เดือน มีความยาวทั้งสิ้น 10 นาที 50 วินาที เมื่อจัดทาสื่อคอมพิวเตอร์เสร็จสิ้นในเบื้องต้น ได้มีการสารวจความพึงพอใจและประโยชน์ที่ได้รับ โดยทาการสารวจในนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นปีที่ 2 ถึงชั้นปีที่ 5 ด้วยการใช้แบบสอบถาม พบว่าจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ได้คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 8.75 ผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่ามีความเข้าใจเกี่ยวกับอาการท้องเสียที่เกิดจากยาต้านเชื้อแบคทีเรียมากขึ้น แบ่งเป็น มากที่สุด (ร้อยละ 17.95) มาก (ร้อยละ 67.52) ปานกลาง (ร้อยละ 14.25) และไม่เลย (ร้อยละ 0.28) และคิดว่าสื่อคอมพิวเตอร์นี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนเรื่องอาการท้องเสียที่เกิดจากยาต้านเชื้อแบคทีเรีย แบ่งเป็น มากที่สุด (ร้อยละ 27.35) มาก (ร้อยละ 66.10) และปานกลาง (ร้อยละ 6.55) นอกจากนี้ยังมีข้อคิดเห็นอื่นๆ ที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น มีรูปแบบในการนาเสนอดีช่วยให้เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น เสียงไม่ชัดในบางช่วงอธิบายกลไกเร็วเกินไปบทบรรยายเห็นไม่ชัด เป็นต้น จากผลการประเมินในนักศึกษาเภสัชศาสตร์นี้ พบว่าสื่อคอมพิวเตอร์ที่จัดทาขึ้นมีส่วนช่วยให้เข้าใจและส่งเสริมการเรียนให้ดีมากยิ่งขึ้น แสดงให้เห็นว่าการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ประกอบการเรียนน่าจะมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาหลักของบทเรียนและสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ด้วยตนเองได้อย่างเป็นระบบ การพัฒนาและสร้างสื่อการสอนเรื่องอื่นๆ เพิ่มขึ้นในอนาคต จึงน่าจะมีส่วนช่วยพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
abstract:
The objective of this computer media is to review the comprehensive knowledge of antibiotic-associated diarrhea (AAD) systematically. The media is produced by using the computer program to create the stop motion movie which is a good choice for explanation of some complicated information. After about 3 months of several production processes, the computer media with 10 minute and 50 second length is launched. Immediately after the computer media is launched, the satisfaction and usefulness were surveyed among the 2nd to 5th year students of the Faculty of Pharmacy, Mahidol University, by using the questionnaire. The results showed that the average of satisfaction score is 8.75 from 10. The percentage of understanding scores was 17.95% for very much, 67.52% for much, 14.25% for fair, and 0.28% for not at all. The percentage of usefulness score was 27.35% for very much, 66.10% for much, and 6.55% for fair. There are also many comments, for example, the presentation strategy is good for understanding, the sound is not clear in some parts, the explanation is too fast, and the subtitle cannot be seen clearly. The survey results indicate that this computer media could encourage the understanding and studying for the audience. Using of computer media can also help the learners to understand the main content of the lesson and systematic self-study process. The development of new computer media in other topics would partly improve the learning system in the future.
.