การประเมินปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยพาร์กินสัน

โดย: ภควดี วงศ์ประพฤติดี, มนชนก ด้วงดี    ปีการศึกษา: 2554    กลุ่มที่: 50

อาจารย์ที่ปรึกษา: จุฑามณี สุทธิสีสังข์ , ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ , นพ.สมชาย โตวณะบุตร    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวิทยา

Keyword: ปัญหาการใช้ยา, โรคพาร์กินสัน, Drug related problems, Parkinson’s disease
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัญหาการใช้ยา รวมถึงวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาในผู้ป่วยพาร์กินสัน โดยทาการศึกษาข้อมูลการใช้ยาจากเวชระเบียนและการสัมภาษณ์ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มาตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก สถาบันประสาทวิทยาระหว่างเดือนสิงหาคม - กันยายน พ.ศ. 2554 จากการประเมินปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยพาร์กินสันจานวน 20 คน ผู้ป่วยมีอายุระหว่าง 47 - 82 ปี เป็นเพศชาย 12 คน เพศหญิง 8 คน ทาการจัดยากินเอง 11 คน ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์กินสันมาแล้วระหว่าง 3 เดือน - 15 ปี จากการสัมภาษณ์และข้อมูลจากเวชระเบียนพบปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาทั้งหมด 79 ปัญหา ได้แก่ 1) ได้รับยาไม่เพียงพอต่อการรักษาหรือควรได้รับยาเพิ่มเติม 17 ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 21.5 ของปัญหาทั้งหมด เช่น ผู้ป่วยไม่ได้รับยาระบายเพื่อบรรเทาอาการท้องผูกซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน 2) ได้รับยาไม่เหมาะสม 7 ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 8.9 ของปัญหาทั้งหมด เช่น การใช้ trihexylphenidyl ในผู้ป่วยสูงอายุ 3) ได้รับขนาดยาน้อยจนเกินไป 9 ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 11.4 ของปัญหาทั้งหมด เช่น ได้รับ levodopa เพียง 150 มก./วัน ซึ่งไม่เพียงพอที่จะทาให้อาการดีขึ้น 4) ได้รับขนาดยาสูงจนเกินไป 1 ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 1.3 ของปัญหาทั้งหมด เช่น ได้รับ losartan 200 มก./วัน 5) เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 26 ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 32.9 ของปัญหาทั้งหมด เช่น postural hypotension จาก levodopa 6) ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยา 11 ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 13.9 ของปัญหาทั้งหมด และ 7) เกิดปฏิกิริยาระหว่างยา 8 ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 10.1 ของปัญหาทั้งหมด เช่น levodopa – food drug interaction จากข้อมูลข้างต้น เภสัชกรสามารถช่วยแก้ไข้ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาในผู้ป่วยพาร์กินสัน ซึ่งจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อมูลที่ได้จากโครงการพิเศษครั้งนี้สามารถนามาเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยพาร์กินสันต่อไปในอนาคตได้
abstract:
The objectives of this special project were to evaluate the drug related problems (DRPs) and also to analyze and solve those problems in patients with Parkinson’s disease. The study was performed by reviewing medical records and interviewing patients at Out Patient Department, Prasat Neurological Institute during August to September 2011. Evaluation of pharmaceutical care in patients with Parkinson’s disease was performed in 20 cases(12 males and 8 females), age range between 47 - 82 years. The patients who can manage drug administration by himself were 11 cases. Patients were diagnosed of Parkinson’s disease from 3 months – 15 years. Seventy-nine drug related problems were identified form interviewing the patients and reviewing medical records. Categories and the number of DRPs were as follows: 1) Need for additional drug therapy: 17 problems were detected which was 21.5% of total DRPs e.g. patient did not receive stimulant laxative for constipation which was commonly found in Parkinson patient. 2) Inappropriate drug: 7 problems (8.9% of total DRPs) e.g. prescribing of trihexyphenidyl which was anticholinergic drug in elderly case. 3) Dosage too low: 9 problems (11.4% of total DRPs) e.g. patient received only 150 mg/day of levodopa despite of bradykinesia. 4) Dosage too high: 1 problem (1.3% of total DRPs) e.g. losartan 200 mg/day. 5) Adverse drug reaction: 26 problems (32.9% of total DRPs) e.g. postural hypotension from levodopa. 6) Noncompliance: 11 problems (13.9% of total DRPs). 7) Drug-food interaction: 8 problems (10.1% of total DRPs) e.g. levodopa–food interaction. From this study, pharmacists can play a major role in resolving drug-related problems in order to increase the effectiveness of treatment. The data from this study can be applied to develop a pharmaceutical care model for patients with Parkinson’s disease in the future.
.