การศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของ สารสกัดจากพืชพื้นเมืองของประเทศไทย

โดย: ชุติวัต ประดิษฐพัสตรา, ฐิติพล เยาวลักษณ์    ปีการศึกษา: 2553    กลุ่มที่: 50

อาจารย์ที่ปรึกษา: วรวรรณ กิจผาติ , วีนา นุกูลการ , ณัฏฐินี อนันตโชค    ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา

Keyword: พืชพื้นเมือง, ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน, Thai indigenous plants, antioxidant activity
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของสารสกัดจากพืชพื้นเมืองของประเทศไทย พืชพื้นเมืองที่นำมาทดสอบมีทั้งหมด 10 ชนิด ได้แก่ ผักกระโดน ผักกระโดนน้ำ ผักกระถิน ผักก้านจอง ดอกขจร ดอกดาหลา ผักกูด ผักพูม ใบมันปู และผักเสม็ดชุน โดยนำสารสกัดทั้งหมดไปทดสอบฤทธิ์เบื้องต้นด้วยวิธี 2, 2, diphenyl-1-picrylhydrazyl assay on Thin Layer Chromatography (DPPH assay on TLC) พบว่าสารสกัดทุกชนิดมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน โดยพืชที่มีฤทธิ์เด่นชัดได้แก่ ผักกระโดนบก ผักกระโดนน้ำ ผักเสม็ดชุน และใบมันปู จากนั้นนำสารสกัดทั้ง 10 ชนิดมาทดสอบฤทธิ์ต่อด้วยวิธี Ferric Reducing Antioxidant Power (FRAP) assay และ DPPH assay ใน 96-well microplate ผลการทดสอบโดยวิธี FRAP assay พบว่าสารสกัดของผักกระโดนบก ผักกระโดนน้ำ ผักเสม็ดชุน และใบมันปูมีค่า FRAP value เท่ากับ 85.99 ± 0.83, 44.74 ± 0.53, 29.95 ± 0.72 และ 26.66 ± 0.94 mmol FeSO4/100 g ของน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ ส่วนสารสกัดพืชอื่นๆ มีค่า FRAP value น้อยกว่า 15 mmol FeSO4/100 g ของน้ำหนักแห้ง และผลการทดสอบโดยวิธี DPPH assay พบว่าสารสกัดของผักกระโดนบก ใบมันปู ผักกระโดนน้ำ และผักเสม็ดชุนมีค่า IC50 เท่ากับ 10.77 ± 0.70, 13.74 ± 0.50, 25.51 ± 1.73 และ 35.92 ± 2.91 µg/mL ตามลำดับ ส่วนสารสกัดพืชอื่น ๆ มีค่า IC50 มากกว่า 100 µg/mL ผลการทดสอบจากทั้ง 3 วิธีให้ผลไปในทิศทางเดียวกันและสนับสนุนว่าสมควรที่จะทำการศึกษาหาสารสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของผักกระโดนบก ผักกระโดนน้ำ ผักเสม็ดชุน และใบมันปูต่อไป
abstract:
The purpose of this study was to determine an antioxidant activitiy of extracts from Thai indigenous plants. Ten plant extracts were investigated; including Careya sphaerica, Barringtonia acutangula, Leucaena leucocephala, Limnocharis flava,Telosma minor, Etlingera elatior, Diplazium esculentum, Champereia manillana, Glochidion wallichianum and Syzygium gratum. All extracts were screened for antioxidant activity by using 2, 2, diphenyl-1-picrylhydrazyl assay on Thin Layer Chromatography (DPPH assay on TLC). The extracts from Careya sphaerica, Barringtonia acutangula, Syzygium gratum, and Glochidion wallichianum demonstrated stronger activity than the others. Then, antioxidant activity of ten extracts was further examined by FRAP assay and DPPH assay in 96 well-microplate. The FRAP value of Careya sphaerica, Barringtonia acutangula, Syzygium gratum and Glochidion wallichianum were 85.99 ± 0.83, 44.74 ± 0.53, 29.95 ± 0.72 and 26.66 ± 0.94 mmol/ 100 g of dried weight respectively. The rest of the extracts showed FRAP value below 15 mmol/ 100 g of dried weight. IC50 value of Careya sphaerica, Glochidion wallichianum, Barringtonia acutangula and Syzygium gratum were 10.77 ± 0.70, 13.74 ± 0.50, 25.51 ± 1.73 and 35.92 ± 2.91 µg/mL, respectively. The rest of the extracts showed IC50 value above 100 µg/mL. The result from three methods was consistent and supported that the extracts from Careya sphaerica, Barringtonia acutangula, Syzygium gratum, and Glochidion wallichianum should be furture investigated for the antioxidant activitiy of their active constituents.
.