ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้อาหารทารก |
โดย: ลาวัณย์ สันติชินกุลลอรัญญา จุติวิบูลย์สุข ปีการศึกษา: 2539 กลุ่มที่: 50 อาจารย์ที่ปรึกษา: วราภัสร์ พากเพียรกิจวัฒนา , วิชิต เปานิล ภาควิชา: ภาควิชาอาหารเคมี Keyword: , |
บทคัดย่อ: ปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการให้นมและอาหารเสริมแก่ทารก เป็นเรื่องที่พบได้บ่อย จึงได้ทำการศึกษาเพื่อประเมินสถานการณ์ของปัญหาและหาสาเหตุของปัญหาดังกล่าว โดยการสำรวจข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามในแม่ 77 คน ซึ่งเป็นสมาชิกคริสตจักรสะพานเหลือง และคริสตจักรไมตรีจิต (กรุงเทพมหานคร) ได้จำนวนบุตรทั้งหมด 104 คน อายุ 36.0 19.3 เดือน พบว่ามีทารกที่ไม่ได้รับนมแม่เลย 11.5% ทารกที่ได้รับนมแม่เต็มที่อย่างน้อย 3 เดือน มี 20.2% ทารกส่วนใหญ่ (41.3%) ไดัรับนมแม่ในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งสาเหตุสำคัญ 2 อันดับแรก คือ แม่รู้สึกว่ามีน้ำนมน้อย 50.0% และแม่จำเป็นต้องกลับไปทำงาน 32.6% ผลการสำรวจการใช้นมผงสำเร็จรูป พบว่า อายุเฉลี่ยของการใช้นมดัดแปลงสำหรับทารก คือ 1.1-8.8 เดือน,นมสูตรต่อเนื่อง 7.5-7.4 เดือน, นมวัวครบส่วน 17.6-41.9 เดือน ปัญหาที่พบในการใช้นมดัดแปลงสำหรับทารก,นมสูตรต่อเนื่องและนมวัวครบส่วน โดยมาก คือท้องผูก นมดัดแปลงสำหรับทารกที่นิยมใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เอนฟาแลค (30.0%), เอส 26 (14.2%) และสโนว์ พี 7 แอล (13.3%) เหตุผลส่วนใหญ่ที่เลือกใช้ คือ ใช้ตามที่โรงพยาบาลได้ให้บุตรตั้งแต่แรกเกิด 53.3%, นมสูตรต่อเนื่องที่นิยมใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เอนฟาโปร (44.9%), เกน (15.4%) และแนน 2 (9.0%) นมครบส่วนที่นิยมใช้มากที่สุด คือ อะแล็คตา เอ็นเอฟ 60.6% จากการสำรวจอายุที่เริ่มให้อาหารเสริมบางชนิด ได้แก่ น้ำส้มคั้น,กล้วย,ข้าว,ผัก,ปลาและผลไม้ พบว่า ส่วนใหญ่ได้รับที่อายุ 3-6 เดือน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์พอเหมาะ มีเด็ก 1.3 % ที่ได้รับอาหารเสริมมากเกินไป วิธีการให้นม อายุ 4 ปี ยังมี 30.8% ที่ให้นมโดยขวดนมอยู่ สำหรับวิธีการให้อาหารเสริมทั่วไป ในช่วงอายุ 6-12 เดือน มีการฝึกให้เด็กใช้มือหยิบอาหารน้อยมาก (12.5-38.2%) ที่อายุ 2 ปี เด็กสามารถใช้ช้อนเอง 79.5% พบการใช้ขวดนมในการให้อาหารเสริมที่อายุ 2 และ 4 ปี 11.0% และ 2.6% ตามลำดับ จากผลการสำรวจ ทำให้เห็นว่าทารกในกลุ่มที่ศึกษานี้ได้รับนมแม่น้อยเกินไป ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการที่ระบบโรงพยาบาลไม่เอื้ออำนวยให้แม่กับลูกได้นอนห้องเดียวกัน และแม่ขาดความรู้ที่จะให้นมแม่ให้ประสบผลสำเร็จ ในด้านการให้อาหารเสริมเด็กบางส่วนได้รับอาหารเสริมเร็วเกินไปและบางส่วนก็ได้รับปริมาณนมมากเกินไป ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคอ้วนและปัญหาพฤติกรรมการกินในระยะยาวได้ |
abstract: Since proboems in infant feeding are common , this study was aimed at surveying the situation of problems including the underlying factors involved . Seventy-seven mothers having children aged 6-71 months , members of 2 Chinese Protestant church in Bangkok , were interviewed using questionnaire. From these mothers there were 104 children aged 36.0 19.3 months. The results showed that 11.5% of children never received breastfeeding. Only 20.2% were fully breastfed for at least 3 months and majority of them (41.3%) recerved little breastmilk. The 2 major underlyilng factors were mother’s perception of insufficient breastmilk (50.0%) and their need to go back to work (32.6%) . For those who used commercial formula , the average age to begin and stop using infant formula was 1.1-8.8 months , follow-up formula 7.5-17.4 months and whole milk 17.6-41.9 months. The major problem during the use of these formulas was constipation . The most commonly used infant formula were Enfalac (30.0%) , S-26 (14.2%) and Snow P7L (13.3%) ; follow-up foumula were Enfapro (44.9%) , Gain (15.4%) and Nan 2 (9.0%) ; whole milk were Alacta-NF (60.6%) . The age at introduction of some supplementary food namely orange juice , banana , rice , vegetables , fish , and fruit was 3-6 months which was appropriate . There was 1.3% of children receiving too much supplementary food . Concerning the methods used for milk and supplementary food feeding , there were still many children (30.8%) receiving milk by bottle at 4 years old , while only few (12.5-38.2%) children were allowed to explore food by finger at 6-12 months old. The use lf bottle for supplementary food feeding were present being 11.1% at the age of 2 years and 2.6% at 4 years. From the results we concluded that the children in this study receive inadequate breastmilk . The factors involved might be separation of mothers and child after birth , and that mothers lack knowledge and training to succeed breastfeeding . Problem in supplementary food feeding were present which might affect long term food habit of these children. |
. |