การศึกษาปัจจัยของการยึดจับระหว่างโปรตีนและอนุภาคพาราแมกนีทิคเหล็กออกไซด์ที่เคลือบด้วยโพลีเมอร์

โดย: นนนทวรรณ ฉลอง, ปัทภรณ์ สมทรัพย์    ปีการศึกษา: 2554    กลุ่มที่: 5

อาจารย์ที่ปรึกษา: วิเชษฐ์ ลีลามานิตย์ , สุรชัย งามรัตนไพบูลย์    ภาควิชา: ภาควิชาชีวเคมี

Keyword: อนุภาคพาราแมกนีทิคเหล็กออกไซด์, โปรตีน, การยึดจับ, Paramagnetic iron oxide nanoparticles, Polymer, Proteins
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยึดจับ และปลดปล่อยระหว่างโปรตีนและอนุภาคพาราแมกนีทิคเหล็กออกไซด์ที่เคลือบด้วยโพลีเมอร์ ซึ่งโปรตีนที่ใช้ในการทดลองนี้เป็น Bovine serum albumin (BSA) และอนุภาคพาราแมกนีทิคเหล็กออกไซด์ที่เคลือบด้วยโพลีเมอร์ที่ใช้เป็นไคโตซานวิสเกอร์ (chitosan whisker) เครื่องมือที่ใช้วัดผลการทดลองคือ UV spectrophotometer (Tecan®) โดยเริ่มจากการศึกษาสภาวะความเป็นกรด-ด่างของ buffer 2 ชนิด ได้แก่ Tris EDTA และ Phosphate buffer ที่ pH 5, 6, 7 และ 8 เพื่อหา pH ที่เหมาะสมของ buffer แต่ละชนิด ได้ pH ที่เหมาะสม คือ pH 7 ของ buffer ทั้ง 2 ชนิด ต่อมาจึงศึกษาถึงผลของอุณหภูมิที่มีผลต่อการยึดจับและการปลดปล่อย โดยพบว่าอุณหภูมิที่เหมาะสม คือ อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส จากนั้นได้ทำการศึกษาระยะเวลาที่มีผลต่อการยึดจับและการปลดปล่อย โดยใช้เวลาในการทดลอง คือ 5, 10, 15 และ 30 นาที ได้เวลาที่เหมาะสมและใช้เวลาน้อยที่สุดคือ ที่ เวลา 5 นาที
abstract:
This special project was to study the factors which affect the binding between proteins and polymer-coated paramagnetic iron oxde nanoparticles (SPIONs). In this study, the SPIONs were coated with chitosan whisker and to study binding capability of coated samples bovine serum protein (BSA) was used. To measure the protein bound to polymer-coated SPIONs, we investigated by using UV spectrophotometry method. The factor conditions (pH condition, incubation time, and temperature) interfering the binding and releasing capacity between BSA and coated SPIONs were determined. In this study the two buffer solutions were employed; Tris-EDTA and PBS. From our results, we found that the optimal pH condition was 7, and the optimal temperature was 30oC. Finally, the results also revealed that the optimal incubation time was 5 minutes.
.