การสํารวจความรู้และทัศนคติต่อการใช้สมุนไพรที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร

โดย: จิราภรณ์ พวงสมบัติ, พจนา รวยลาภ    ปีการศึกษา: 2547    กลุ่มที่: 5

อาจารย์ที่ปรึกษา: มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ , เนติ สุขสมบูรณ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: สมุนไพร, บัญชียาหลักแห่งชาติ, ความรู้, ทัศนคติ, herbs, National of essential drug list, knowledge, attitude
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจที่ได้จัดทําขึ้นเพื่อสํารวจความรู้เบื้องต้น การยอมรับและทัศนคติ ของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติและรูปแบบของผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่พึงประสงค์โดยทําการเก็บข้อมูลจากนักศึกษาในมหาวิทยาลัย 6 แห่ง และสถาบันราชภัฎ 1 แห่ง จากแบบสอบถาม 1,400 ฉบับ ได้รับการตอบกลับ 1,103 ฉบับ คิดเป็นอัตราการตอบกลับร้อยละ 78.9 โดยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง 656 คน (ร้อยละ 59.5) อายุเฉลี่ย 19.96 ปี (S.D. 2.03) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 69.4 ไม่ทราบว่าสมุนไพร 5 ชนิดต่อไปนี้ คือ ขมิ้นชัน, ฟ้าทะลายโจร, ชุมเห็ดเทศ, พญายอและไพล ได้รับการจัดให้อยู?ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ 60) ไม่ทราบสรรพคุณของสมุนไพรเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม มากกว่าร?อยละ 70 เชื่อว่าสมุนไพรเหล่านี้มีสรรพคุณในการรักษาโรคและบรรเทาอาการต่าง ๆ ได้จริงทั้งที่ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 51.8) ไม่เคยใช้สมุนไพรเหล่านี้บรรเทาอาการเจ็บป่วยมาก่อน สําหรับสมุนไพรที่กลุ่มตัวอย่างระบุว่าเคยใช้มากที่สุด 3 อันดับแรกคือ ฟ้าทะลายโจร, ไพลและขมิ้นชัน ตามลําดับ นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อ สมุนไพร แต่ร้อยละ 63.3 แสดงความคิดเห็นว่าสมุนไพรมีรสชาดไม่พึงประสงค์, รูปแบบของสมุนไพรดูไม่น่าใช้ (ร้อยละ 58.2) และหาซื้อยาก (ร้อยละ 37.4) สําหรับรูปแบบสมุนไพรที่กลุ่มตัวอย่างอยากให้มีการผลิตมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ ยาแคปซูล, ครีมและเจล ตามลําดับ จากการศึกษาในครั้งนี้จึงมีข้อเสนอแนะว่า หากต้องการให้มีการอนุรักษ์สมุนไพรให้มีการใช้อย่างแพร่หลายสืบไปควรมีการปลูกฝังและส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร ตลอดจนพัฒนารูปแบบสมุนไพรให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเยาวชนเหล่านี้ให้มากขึ้น
abstract:
This special project was a survey research, which aimed to survey knowledge,acceptance and attitude towards five herbs listed in Thai National of essential drug list (NEDL) and to survey the desirable dosage forms of herbal products among undergraduate students in Bangkok. Data were collected from 6 universities and 1Rajabhat Institute. Of 1,400 questionnaires sent out, 1,103 were returned, resulting in the response rate of 78.86%. It was found that 656 of the sample (59.5%) were female. The average age was 19.96 years (S.D. = 2.03). About 69.4% did not know that Curcuma longa Linn., Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees., Cassia alata Linn., Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindaul. and Zingiber cassumunar Roxb. were listed in the NEDL. In addition, most of them (> 60%) did not know the indication of these herbs. More than 70% of the sample believed that these herbs could cure and relieve symptoms of diseases, however, only 51.8% had ever used these herbs before. Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees., Zingiber cassumunar Roxb. and Curcuma longa Linn. were the 3 herbs that the sample indicated that they had ever used the most. Although most of them had positive attitude towards herbs, about 63.3% of them indicated that herbs had bad taste, the dosage forms of herbal products were not attractive (58.2%), and that it was difficult to buy herbs (37.4%). The 3 most desirable dosage forms of herbal products were capsule, cream and jel, respectively. It is recommended that to promote the use of herbs in the long period of time, we should provide education and develop the attractive dosage forms of herbal products to match the need of the new generations.
.