การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของการใช้ยากลุ่ม Cholinesterase inhibitors ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ระดับรุนแรงน้อยถึงปานกลางในประเทศไทย

โดย: นางสาวณัฐกานต์ จิตพิมพ์, นางสาวธิดารัตน์ แก้วพงค์    ปีการศึกษา: 2557    กลุ่มที่: 49

อาจารย์ที่ปรึกษา: อุษา ฉายเกล็ดแก้ว , จิระพรรณ จิตติคุณ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: Cost-utility analysis, Alzheimer’s disease, Acetylcholinesterase inhibitors, Economic Evaluation, Donepezil, Galantamine, Rivastigmine, Markov model, Cost-utility analysis, Alzheimer’s disease, Acetylcholinesterase inhibitors, Economic Evaluation, Donepezil, Galantamine, Rivastigmine, Markov model
บทคัดย่อ:
ในปัจจุบันการรักษาโรคอัลไซเมอร์โดยใช้ยายังมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก จึงจาเป็นต้องประเมินประสิทธิผลในการรักษาเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของยากลุ่ม AChEIs ได้แก่ Donepezil, Rivastigmine และ Galantamine เปรียบเทียบกับการรักษาโดยไม่ใช้ยาในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ระดับรุนแรงน้อยถึงปานกลางในมุมมองของสังคมในประเทศไทย โดยอาศัยแบบจาลองทางเภสัชเศรษฐศาสตร์ (Markov model) ในช่วงเวลาตั้งแต่ได้รับการรักษาจนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต โดยศึกษาทุกรอบระยะเวลา 1 เดือน ตัวแปรที่ใช้ในแบบจาลองนามาจากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์เชิงอภิมาน ผลการศึกษาแสดงในรูปของอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม ทาการวิเคราะห์ความไวแบบความน่าจะเป็น โดยวิธี Monte Carlo สุ่ม 1,000 ครั้ง และทาการวิเคราะห์ความไวแบบทางเดียว ผลการศึกษาใน base case (ผู้ป่วยอายุ 60 ปี มีระยะเวลาการดาเนินโรคมาแล้ว 1 ปี ไม่มีอาการทางจิตใจหรือทางกาย มีคะแนน ADAS-cog เท่ากับ 17) ถ้าพิจารณาที่ระดับความเต็มใจที่จะจ่ายเท่ากับ 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะ พบว่าทางเลือกที่ไม่ใช้ยามีโอกาสคุ้มค่ามากที่สุด ในขณะเดียวกันยากลุ่ม AChEIs ยังเป็นทางเลือกที่ไม่คุ้มค่าทางการแพทย์เนื่องจากค่าอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มของ Donepezil = 188,385 บาทต่อปีสุขภาวะ Rivastigmine = 272,746 บาทต่อปีสุขภาวะ และ Galantamine = 231,806 บาทต่อปีสุขภาวะ แต่เมื่อหากเพิ่มระดับความเต็มใจที่จะจ่ายให้มีมูลค่าสูงขึ้น ยา Galantamine จะเป็นทางเลือกที่มีความคุ้มค่ามากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับยาอื่นๆ หรือการไม่ใช้ยา
abstract:
Currently available treatments for Alzheimer’s disease (AD) are costly and there is a need to determine whether the clinical benefits justify their additional costs. This study aimed to evaluate the cost-utility analysis of cholinesterase inhibitors (i.e., Donepezil, Rivastigmine, and Galantamine) compared with no treatment for mild to moderate AD patients based on a societal perspective in Thailand. Markov model was used to estimate the cost-utility of AChEIs for treatment AD during lifetime period with one month cycle length. Input parameters were obtained from systematic review and meta-analysis of international published literatures. Incremental cost-effectiveness ratio (ICER) of each option was calculated. A probabilistic sensitivity analysis using Monte Carlo simulation with 1000 iterations and one-way sensitivity analysis were performed. At base case scenario (i.e., patients with 60 year-old who had AD for one year, ADAS-cog score of 17, no presence of psychiatric symptoms and extrapyramidal symptoms), the result demonstrated that at the willingness to pay (WTP) threshold of 160,000 baht/quality-adjusted life year (QALY) in Thailand, no drug treatment might be cost-effective, whereas AChEIs might not be cost-effective for mild to moderate AD patients since the ICER values of Donepezil, Rivastigmine, Galantamine were 188,385 baht/QALY gained, 272,746 baht/QALY gained, 231,806 baht/QALY gained, respectively. If there is an increase in WTP threshold, Galantamine might be the most cost-effective intervention for base case scenario compared with other drugs and no-drug treatment option.
.