การรวบรวมข้อมูลเอสโตรเจนจากพืช

โดย: ฐิตินันท์ โชคชนะชัยสกุล, ธันย์ชนก เลี่ยวศรีสุข    ปีการศึกษา: 2553    กลุ่มที่: 49

อาจารย์ที่ปรึกษา: สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ , บุญเทียม คงศักดิ์ตระกูล , วรวรรณ กิจผาติ    ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา

Keyword: เอสโตรเจนจากพืช, วัยหมดประจำเดือน, กวาวเครือขาว, ว่านหางช้าง, ว่านชักมดลูก, Phytoestrogen, menopause, Pueraria mirifica, Belamcanda chinensis, Curcuma comosa
บทคัดย่อ:
ในปัจจุบันมีการใช้ฮอร์โมนทดแทนในหญิงวัยหมดประจำเดือนเพื่อช่วยลดอาการของวัยหมดประจำเดือน เช่น อาการร้อนวูบวาบ ภาวะกระดูกพรุน เป็นต้น แต่พบว่าการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์บางชนิดมีผลข้างเคียง คือ ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากพืช (phytoestrogens) จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจมากขึ้นเพื่อนำมาใช้แทนฮอร์โมนสังเคราะห์ โครงการพิเศษนี้มีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลการศึกษาพืชสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์เอสโตรเจน ได้แก่ กวาวเครือขาว ว่านชักมดลูก และว่านหางช้าง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001-2010 จากแหล่งข้อมูลทางวิชาการโดยใช้ฐานข้อมูลคือ Pubmeds, Sciencedirect และวารสารทางการแพทย์ต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่าพืชทั้ง 3 ชนิดแสดงฤทธิ์เอสโตรเจน โดยมีเพียงกวาวเครือขาวที่มีการศึกษาถึงระดับคลินิกและพบว่าสามารถลดอาการของวัยหมดประจำเดือน เช่น อาการร้อนวูบวาบ ช่องคลอดแห้ง อีกทั้งมีผลลดระดับไขมันในเลือดอีกด้วย ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ากวาวเครือขาวมีศักยภาพในการนำมาใช้เป็นฮอร์โมนทดแทนได้ แต่ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเป็นพิษและผลข้างเคียงในการใช้ระยะยาว เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีปัญหาและต้องการใช้ฮอร์โมนทดแทน อีกทั้งเป็นการสนับสนุนการใช้พืชสมุนไพรไทยอีกด้วย
abstract:
Nowadays, hormone replacement therapy is used for alleviating the menopausal symptoms such as hot-flashes and osteoporosis. However, evidence shows that the long-term use of synthesis hormone replacement therapy has numerous side effects (e.g. risk of developing breast and uterine cancers). Therefore, the use of phytoestrogen as an alternative treatment is considered. There are many Thai herbs that contain phytoestrogen such as Kwao Kruea Khao (Pueraria mirifica), Wan Hang Chang (Belamcanda chinensis), Wan Chak Mod Luk (Curcuma comosa). The objective of this special project is to gather and analyse the information of phytoestrogen from these three medicinal plants during 2001 to 2010 from from the reliable sources: Pubmeds, Sciencedirect and medical journals. This review showed that all three herbs have estrogenic activities but only Kwao Kruea Khao has been clinically proved. Kwao Kruea Khao not only alleviates menopausal symptoms such as hot-flashes and vaginal dryness but also improves the lipid profile. The results supported that Kwao Kruea Khao has a potential to use as an alternative hormone replacement therapy. Therefore, further clinical studies focusing on toxicity and long–term side effects should be evaluated. It might be an alternative choice for menopausal women who are sensitive to synthesis hormone replacement therapy.
.