การประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามที่ไดรับการรักษาที่กลุ่มงานเคมีบำบัด สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

โดย: อังคณา ประภากร,อัญชนา เหลี่ยมทองคำ    ปีการศึกษา: 2543    กลุ่มที่: 49

อาจารย์ที่ปรึกษา: สุภาภรณ์ พงศกร , อาคม เชียรศิลป์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวิทยา

Keyword: คุณภาพชีวิต , เคมีบำบัด, Quality of life, Chemotherapy
บทคัดย่อ:
ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วยเคมีบำบัดมักมีการใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน (combination chemotherapy) ซึ่งมีหลายแบบแผนการรักษา (regimen) ในการรักษามะเร็งเต้านม แบบแผนการรักษาที่นิยมใช้คือ CMF (ประกอบด้วย cyclophosphamide, methotrexate, 5-fluorouracil ) และ FAC (ประกอบด้วย 5-fluorouracil , adriamycin, cyclophosphamide) แต่เนื่องจากยาต้านมะเร็งส่วนใหญ่มีความเป็นพิษสูง ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง กดไขกระดูก และยังอาจมีพิษต่อร่างกาย เช่น ตับ ไต หัวใจ เป็นต้น ซึ่งมีผลรบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง โครงการพิเศษนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคุณภาพชีวิต(quality of life) ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เพื่อศึกษาว่าแบบแผนการรักษาทั้งสองมีผลรบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมต่างกันอย่างไร ซึ่งจะสัมภาษณ์ผู้ป่วยโดยใช้แบบสอบถาม FACT-B ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 ส่วน ประกอบด้วย คำถามด้านร่างกาย (physical), ด้านสังคม/ครอบครัว(social), ด้านการปฏิบัติกิจกรรม (function), ด้านอารมณ์จิตใจ (emotion) และคำถามเฉพาะโรคมะเร็งเต้านม จากผลการศึกษาผู้ป่วยที่ตอบแบบสอบถามครบตามเกณฑ์ที่กำหนดทั้งก่อนและหลังการให้เคมีบำบัดครบทั้ง 2 รอบการรักษา จำนวน 19 คน พบว่า การรักษาตามแบบแผนการรักษา CMF และ FAC มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลของรอบการรักษานั้น พบว่า หลังการรักษาด้วย CMF 1 และ 2 รอบการรักษา คุณภาพชีวิตทางด้านร่างกายของผู้ป่วยลดลงกว่าก่อนให้การรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
abstract:
Combination chemotherapy commonly used in breast cancer includes CMF ( cyclophosphamide, methotrexate and 5-fluorouracil ) and FAC ( 5-fluorouracil, adriamycin and cyclophosphamide) regimens. Anticancer drugs may cause many toxic effects such as nausea, vomiting, alopecia, bonemarrow suppression, hepatotoxic, nephrotoxic and cardiotoxic. These effects can interfere quality of life of patients. This special project aims to compare the quality of life of breast cancer patients treated with CMF and FAC regimens . The FACT-B questionaire was used to assess quality of life of the patients. The questionaire consisted of 5 parts ; physical well-being, social/family well-being , emotional well-being , functional well-being and breast cancer subscale. Nineteen breast cancer patients completed the questions before and after 1 and 2 treatment cycles were obtained in this study . The significant difference between the quality of life of breast cancer patients treated with CMF and FAC regimens could not be found . However, when compare between treatment cycles of each regimen , quality of life in physical well- being of breast cancer patients were decreased after 1 and 2 cycles of treatment in CMF regimen ( P < 0.05 ) .
.