แผ่นฟิล์มแก้ง่วงชนิดรับประทานได้ |
โดย: วิจิตรา ชิมตระกูล,วิชรณีย์ ทองสิมา ปีการศึกษา: 2541 กลุ่มที่: 49 อาจารย์ที่ปรึกษา: วิมล ศรีศุข , วัลลา ตั้งรักษาสัตย์ ภาควิชา: ภาควิชาอาหารเคมี Keyword: , |
บทคัดย่อ: เนื่องจากในปัจจุบันได้มีการนำสารที่กระตุ้นไม่ให้ง่วงนอนมาใช้อย่างแพร่หลายในคนทุกประเภท เช่น amphetamine ซึ่งมีอันตรายต่อร่างกาย และเครื่องดื่ม เช่น กาแฟ ซึ่งมักไม่สะดวกในการบริโภค ในการศึกษานี้ได้ทำการทดลองผลิตแผ่นฟิล์มชนิดรับประทานได้จากแป้งชนิดต่างๆ 7 ชนิดคือ potato starch, corn starch, corn flour, tapioca flour, tacca flour, all-purpose flour และ cake flour ร่วมกับ gelling agent 3 ชนิด คือ gelatin, pectin และ sodium carboxymethylcellulose และนำสมุนไพรที่ใช้เป็นอาหารซึ่งมีคุณสมบัติที่จะช่วยปลุกหรือช่วยไม่ให้ง่วงนอนมาผสมลงในแผ่นฟิล์ม แล้วทำการปรับปรุงรสชาติให้เป็นที่ยอมรับ พบว่า แผ่นฟิล์มที่มีคุณลักษณะที่ดีซึ่งละลายได้เร็ว (10 วินาที), เรียบ, ไม่กรอบแตกง่าย, ไม่เหี่ยวเร็วและมีความคงตัวดีพอสมควร คือ ฟิล์มจากส่วนผสมที่ประกอบด้วย tacca flour ร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก, gelatin (type A) ร้อยละ 1.25 โดยน้ำหนัก, pectin ร้อยละ 1.25 โดยน้ำหนัก, น้ำคั้นมะขามเปียก (เนื้อ : น้ำ = 1 : 2) ร้อยละ 24 โดยน้ำหนัก, Nutra Sweet Aspartame (trademark)ร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนัก และเกลือ ร้อยละ 3 โดยน้ำหนัก และจากการเตรียมแผ่นฟิล์มที่มีสมุนไพรซึ่งใช้แก้ง่วง โดยใช้น้ำคั้นจากพริก 3 ชนิดและน้ำในอัตราส่วน 2 : 1 คือ พริกขี้หนูแดง(สูตร 1), พริกชี้ฟ้าแดง (สูตร 2) และพริกเหลือง (สูตร 3) ในความเข้มข้นในส่วนผสมที่ดีที่สุดเท่ากับร้อยละ 28.5, 60 และ 60 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ทำการประเมินโดยวัดความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจ ในอาสาสมัครซึ่งเป็นนักศึกษาหญิง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 20 คน นำมาแปลผลโดยวิธี t-test โดยเปรียบเทียบความดัน systolic, diastolic, mean arterial pressure (MAP) และอัตราการเต้นของหัวใจ (HR) ของแต่ละสูตรกับcontrol ที่นาทีที่ 0, 1 และ 2 พบว่า ผลการปลุกจากการง่วงนอนเกิดขึ้นเร็วในทันทีหลังจากการอมแผ่นฟิล์มและคงอยู่ในช่วงสั้นๆเท่านั้น คือ 1 นาที ในนาทีที่ 0 ทุกสูตรทำให้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทุกตัวแปร (p<0.05) ในนาทีที่ 1 ทุกสูตรทำให้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทุกตัวแปร ยกเว้น HR ของสูตร 1 และ 2 ที่ไม่มีความแตกต่าง (p>0.05) และในนาทีที่ 2 มีเฉพาะความดัน diastolic และ MAP ของสูตร 3 เท่านั้นที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) |
abstract: Nowadays, stimulating substances are widely used among every aspects of lives. Among the group are drugs such as amphetamine, which is harmful to human body, and beverages such as coffee, which is inconvenient for consumption. In this study, an experiment on the production of edible film from seven different types of flour/starch consisting of potato starch, corn starch, corn flour, tapioca flour, tacca flour, all-purpose flour, and cake flour. The flour/starch ingredient was mixed with 3 different gelling agents, gelatin, pectin, and sodium carboxymethylcellulose. Then, the herb which was also used as foods and exhibited the effect that would wake or keep people awake was incorporated into the film. The recipes of the film were adjusted to obtain favorable tastes. As a result, the good quality film, which was able to dissolve quickly (10 seconds) and possessed smooth surface, was the one that consisted of tacca flour (10%w/w), gelatin (type A) (1.25%w/w), pectin (1.25%w/w), tamarind juice (flesh : liquid = 1 : 2) (24%w/w), Nutra Sweet Aspartame (trademark)(0.5%w/w), salt(3%w/w) and the wake-up herb. The herbs used consisted of 3 different types of chili juice : red bird pepper (formula1) , large red chili (formula 2), and yellow chili (formula 3), and water, in the proportion of 2 : 1. The three kinds of juice were mixed in the percentage of 28.5, 60, and 60 % by weight, respectively. The films were then evaluated among 20 female pharmacy students Faculty of Pharmacy Mahidol University. Blood pressure and heart rate were measured. The t-test was used to determine significant differences between the means of systolic, diastolic, mean arterial pressure, heart rate and the means of their control at 0, 1 and 2 minutes. The results showed that at 0 minute there were significant differences (P < 0.05) in every parameters. At the first minute, every parameters were significantly different (P < 0.05) except for the mean heart rate of formula 1 and 2. At the second minute, only two parameters, i.e. the means of diastolic pressure and mean arterial pressure of formula 3 showed the significant differences (P < 0.05). |
. |