ความหมายและประสบการณ์เกี่ยวกับการแพ้ยาปฏิชีวนะกลุ่มเบต้าแลคแตมของผู้ป่วย

โดย: น.ส.พิชญา รอดเจริญ ,น.ส.รัชพร โพธิโต    ปีการศึกษา: 2556    กลุ่มที่: 48

อาจารย์ที่ปรึกษา: มนทยา สุนันทิวัฒน์ , ปราโมทย์ ตระกูลเพียรกิจ , วรวรรณ กิจผาติ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ความหมายของการแพ้ยา, ประสบการณ์การแพ้ยา, การแพ้ยาเบต้าแลคแตม, Meanings of drug allergy, Drug Allergy experiences, Betalactam antibiotics allergy
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อทาความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการให้ความหมายและนัยสาคัญของการแพ้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มเบต้าแลคแตม ประสบการณ์การแพ้ยาที่ผู้ให้ข้อมูลหลักได้รับ รวมถึงการปฏิบัติตัวเพื่อจัดการหรือรับมือกับการแพ้ยาและการใช้ชีวิตประจาวันของตน ผู้ให้ข้อมูลหลักในงานวิจัยนี้เป็นผู้ป่วยของหน่วยภูมิแพ้ โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่มีประวัติการแพ้ยาในกลุ่มเบต้าแลคแตม โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในการทาการวิจัย จากการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักส่วนใหญ่ให้นัยสาคัญกับอาการผื่นและอาการคันที่เกิดขึ้นและประเมินว่าเป็นอาการของการแพ้ยา นอกจากนั้นยังสะท้อนว่าช่วงอายุที่เพิ่มขึ้นและภาวะโรคประจาตัวที่คุกคามสุขภาพเป็นปัจจัยสาคัญที่ส่งผลให้ยิ่งต้องระแวดระวังหรือให้ความใส่ใจเกี่ยวกับการแพ้ยามากขึ้น ผู้ให้ข้อมูลหลักแต่ละรายจะสรรหาวิธีการที่หลากหลายในการรับมือการใช้ยาปฏิชีวนะของตน เพื่อให้ยังสามารถดาเนินชีวิตประจาวันตามปกติได้ตามบริบทชีวิตและองค์ความรู้ที่เป็นพื้นฐานของแต่ละคน การเลือกเข้ารับการทดสอบการแพ้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มเบต้าแลคแตมจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ผู้ให้ข้อมูลหลักเลือกใช้เพื่อยืนยันว่าตนแพ้ยาจริงหรือไม่ เพื่อให้เกิดความโล่งใจหากทดสอบแล้วไม่ปรากฏการแพ้ยา และสร้างความเชื่อมั่นว่าหากแพ้ยาดังกล่าวก็จะมียากลุ่มอื่นที่ใช้ฆ่าเชื้ออย่างมีประสิทธิผลให้เลือกใช้ด้วยความปลอดภัยเช่นกัน แม้ว่าผู้ให้ข้อมูลหลักส่วนหนึ่งจะแสดงความเชื่อมั่น และรู้สึกสบายใจเมื่อได้รับคายืนยันจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่าไม่แพ้ยา แต่อีกส่วนหนึ่งกลับยังรู้สึกระแวง ไม่สบายใจ ไม่มั่นใจว่าตนจะสามารถใช้ยาได้อย่างปลอดภัยและเลือกที่จะใช้ยาด้วยความระแวดระวังต่อไป ดังนั้นเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยา บุคลากรทางการแพทย์จึงควรให้ความใส่ใจกับการให้ความหมายและประสบการณ์การแพ้ยาในมุมมองของผู้ป่วยอย่างลึกซึ้ง เพื่อนามาประยุกต์ในการจัดเนื้อหาและท่าทีการสื่อสารพูดคุยกับผู้ป่วยให้ได้อย่างเหมาะสมตรงกับความเข้าใจ โลกทัศน์ และบริบทชีวิตของผู้ป่วยแต่ละคน
abstract:
The aims of this qualitative research are to understand profoundly about meanings, significances and experiences of ฃ]-lactam antibiotics allergy, and to clarify various coping strategies adopted by patients to deal with their drug allergy experiences and to survive their everyday lives. Key informants were patients of Allergy Unit at Ramathibodi hospital, who had ฃ]-lactam allergy history. In-depth interview and participant observation were used as main techniques of data collection process in this research. The results showed that skin rash and itches were significant symptoms that triggered key informants to interpret themselves as developing drug allergy. In addition, some key informants reflected that their considerably increasing age and their threatening underlying diseases were crucial factors that urged them to keep vigilance on and pay much more attention to their drug allergy conditions. Key informants utilized several coping tactics to manage their antibiotics use in order to continue their daily activities depending on their life context and basic knowledge. Thus, drug allergy test process was used by key informants as a means to confirm whether their symptoms were drug allergy or not. If results were negative, they would feel relieved. By contrast, if positive results were confirmed, they would be confident to opt for other effective and safe antimicrobials to treat their infectious conditions. Even though some key informants expressed that they were convinced and relaxed to take ฃ]-Lactam Antibiotics after their negative results regarding drug allergy were confirmed, others confessed that they still felt worried and reluctant to use ฃ]-Lactam Antibiotics and decided to take their medications vigilantly. As a result, in order to create more confidence to patients with drug allergy histories, medical professionals should understand and recognize meanings and experiences of drug allergy in patientsกฆ perspectives deeply and comprehensively to develop the optimal contents and manners of patient-professional communication to match each patientกฆs understanding, viewpoint and life context .
.