การรวบรวมข้อมูลสมุนไพรต้านการอักเสบในโรคข้อเสื่อม |
โดย: สุดาวัลย์ หลานน้อย, สุนารี สีตาล ปีการศึกษา: 2553 กลุ่มที่: 48 อาจารย์ที่ปรึกษา: สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ , อ้อมบุญ วัลลิสุต ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา Keyword: สมุนไพรต้านการอักเสบ, ข้อเสื่อม, Anti-inflammatory herb, osteoarthritis |
บทคัดย่อ: โรคข้อเสื่อมเป็นโรคข้อที่พบบ่อยที่สุดในคนสูงอายุ ทำให้เกิดความทรมานและคุณภาพชีวิตลดลง พบว่ามีการใช้ยาในการรักษาภาวะข้อเสื่อมนี้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะยาแก้อักเสบในกลุ่ม NSAIDs (Non-Steroidal Anti-inflammatory Drugs) ซึ่งทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่สำคัญคือ แผลในกระเพาะอาหาร จึงมีความพยายามที่จะพัฒนายาใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาและมีความปลอดภัยมากขึ้น ปัจจุบันสมุนไพรได้รับความสนใจในการใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคมากขึ้น สมุนไพรไทยหลายชนิดมีรายงานทางวิทยาศาสตร์ว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบในโรคข้อเสื่อม ได้แก่ ขิง พริก และเถาวัลย์เปรียง โครงการพิเศษนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลสมุนไพรต้านการอักเสบในโรคข้อเสื่อมที่มีการศึกษาในปี ค.ศ.2000-2010 จากแหล่งข้อมูลทางวิชาการ ได้แก่ www.Sciencedirect.com, www.Pubmed.com, www.Herbmed.org เป็นต้น อีกทั้งยังค้นข้อมูลจากวารสารทางการแพทย์ต่างๆ ข้อมูลของสมุนไพรที่กล่าวมานั้น จะนำเสนอในรายงานโดยมีหัวข้อดังนี้ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับพืช องค์ประกอบทางเคมี การศึกษาทางห้องปฏิบัติการ การศึกษาในสัตว์ทดลอง การศึกษาทางคลินิก และความเป็นพิษ จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า พริก เถาวัลย์เปรียงและขิงมีฤทธิ์ต้านการอักเสบในโรคข้อเสื่อมได้ โดยขิงสามารถบรรเทาอาการปวดและอักเสบในโรคข้อเสื่อมได้ดี ซึ่งผลในการออกฤทธิ์นี้ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของขิง วิธีการเตรียม ปริมาณสารสำคัญในขิง และระยะเวลาในการศึกษา ดังนั้นสารสำคัญในขิงจึงมีศักยภาพในการนำมาพัฒนาเป็นยาต้านการอักเสบเพื่อใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อมต่อไปได้ |
abstract: Osteoarthritis (OA) is the most common musculoskeletal disorder in the elderly. It is a cause of suffering and reduced quality of life. Therapy using NSAIDs (Non-Steroidal Anti-inflammatory Drugs) have been the cause of serious side effect i.e. peptic ulcer. Hence there appears to be a need for drugs with good efficacy and safety in treatment of OA. At present, the usage of herbs for prevention and treatment have become popular. There are many Thai herbs that were claimed as anti-inflammatory agents in OA such as ginger (Zingiber officinale), chilli (Capsicum frutescens) and jewel vine (Derris scandens (Roxb.) Benth.). The objective of this project is to gather and analyse the information of anti-inflammatory herbs in OA during 2000 to 2010 from journals and internet via databases i.e. www.Sciencedirect.com, www.Pubmed.com, and www.Herbmed.org etc. The information of all herbs was classified under the following topics : general information, phytochemistry, experimental pharmacology, clinical pharmacology and toxicity. This review showed that chilli, jewel vine and ginger have anti-inflammatory effect in OA. Ginger could reduce pain and inflammation in OA. The anti-inflammatory activity in OA of ginger depended on source, preparation method, content of active compounds and period of treatment. The active compounds of ginger should be developed as new anti-inflammatory agent in OA. |
. |