การศึกษาการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ระหว่างปี 2548 ถึง 2550 จากฐานข้อมูลอิเลกทรอนิกส์ในโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์

โดย: ปรัชญา สารธรรม, อภิรัตน์ ชูเชิดเกียรติสกุล    ปีการศึกษา: 2551    กลุ่มที่: 48

อาจารย์ที่ปรึกษา: เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข , บุญเทียม คงศักดิ์ตระกูล    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ทบทวนการใช้ยา, ตัวชี้วัด, มูลค่าการใช้ยา, Drug utilization review, Drug use indicator, Drug expenditures
บทคัดย่อ:
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนการใช้ยา (Drug Utilization Review, DUR) ในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และทำตัวชี้วัดเชิงปริมาณจากฐานข้อมูลใบสั่งยาผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ในกรุงเทพมหานครระหว่างปี พ.ศ. 2548-2550 และศึกษาผลกระทบของยาใหม่ต่อการใช้ยาโดยรวมของโรงพยาบาล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาโดยใช้โปรแกรม Microsoft Access และ Excel ผลการศึกษาพบว่าจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับยา NSAIDs ปี พ.ศ. 2550, 2549, 2548 มีจำนวน 53,260, 45,341, และ 44,033 คน และมีจำนวนใบสั่งยาทั้งสิ้น 136,396, 115,490 และ 106,112 ใบตามลำดับ การใช้ยาทั้งหมดมีมูลค่า 197.29 (เพิ่มร้อยละ 60.76), 122.72(เพิ่มร้อยละ 43.3), และ 85.64 ล้านบาทตามลำดับ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการใช้ยาทั้งหมดสูงกว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วย และจำนวนใบสั่งยาอย่างมาก ยาที่มีการใช้มากที่สุดคือ Glucosamine sulfate และ celecoxib แพทย์มักจ่ายยาชื่อการค้ากว่าร้อยละ 98-99 ของมูลค่ายาทั้งหมด ส่วนมูลค่ายานอกบัญชียาหลักก็มีสัดส่วนการใช้มากเช่นกัน ร้อยละ 97-99 ของมูลค่ายาทั้งหมด มูลค่านาเฉลี่ยต่อหนึ่งใบสั่งก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 1,446 (เพิ่มร้อยละ 36.12), 1,062(เพิ่มร้อยละ 31.66), และ 807 บาทตามลำดับ ยาใหม่ที่เข้ามาในโรงพยาบาลในปลายปี 2548 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงมากคือ Infliximab มีมูลค่าการใช้ยา 13,329,357 (เพิ่มร้อยละ 653.27), 1,769,528(เพิ่มร้อยละ 596.73) 253,976 บาทตามลำดับ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแพทย์ในโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์มักใช้ยาชื่อการค้าที่เป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ จึงทำให้มีมูลค่าการใช้สูงมากขึ้น ดังนั้นจึงควรมีการทำ Drug Utilization Evaluation (DUE) ในยากลุ่มเหล่านี้ทั้งนี้เพื่อให้การใช้ยาในโรงเรียนแพทย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านยาให้กับประเทศ
abstract:
The objectives of this study were to do drug utilization review of Non-Steroidal Anti Inflammatory Drugs (NSAIDs), to determine quantitative drug use indicators from outpatient prescription electronic database of a teaching hospital during 2005 to 2007 and to determine effect of new drugs in total drugs use. Data analysis was done in descriptive statistics by Microsoft Access and Excel programs. Results showed that the number of outpatients with NSAIDs in 2007, 2006, 2005 were 53,260 45,341 44,033 and the number of prescriptions were 136,396 115,490 106,112 respectively. Total drug expenditures were 197.29 (increased 60.76%), 122.72 (increased 43.3%), and 85.64 million baht respectively. Increase in total drug expenditures was much higher than the increase in number of outpatients and number of prescriptions. Drugs with the highest expenditures were glucosamine sulfate and celecoxib. Physicians often prescribed brand drugs, about 98-99% of expenditures. Proportion of Non-essential drugs to total expenditures was high as well, about 97-99%. Average drug expenditures per prescription tended to increase 1,446 (increased 36.12%), 1,062 (increased 31.66%) and 807 baht respectively. New drug expenditures tended to increase too. Infliximab use were 13,329,357 (increased 653.27%), 1,769,528 (increased 596.73) 253,976 baht respectively. Result showed that physicians at this teaching hospital preferred non-essential brand name drugs. This would increase total drug expenditures. Therefore, Drug Utilization Evaluation (DUE) should be performed for this drug group in order to improve efficiency of drug use and reduce drug expenditures in Thailand.
.