เครื่องดื่มเข้มข้นจากสารสกัดสมุนไพรชนิดใช้ฉีดพ่นในปากเพื่อแก้ง่วง |
โดย: นส.พจนา ภูวนากิจจากร, นส.ศิริรัตน์ ตั้งอมรศิริ
ปีการศึกษา: 2546 กลุ่มที่: 48 อาจารย์ที่ปรึกษา: วิมล ศรีศุข , นันทวัน บุณยะประภัศร , วัลลา ตั้งรักษาสัตย์ , สุวรรณ ธีระวรพันธ์ ภาควิชา: ภาควิชาอาหารเคมี Keyword: เครื่องดื่ม, พริกขี้หนู, พริกชี้ฟ้าแดง, พริกเหลือง, ผลิตภัณฑ์แก้ง่วง , Beverage , Capsicum frutescens L., Capsicum annuum L. var. acuminatum Fingarh, wake – up product |
บทคัดย่อ: พัฒนาเครื่องดื่มเข้มข้นชนิดใช้ฉีดพ่นในปากเพื่อแก้ง่วงจากสารสกัดสมุนไพร เพื่อนำมาใช้แทนสารกระตุ้นแก้ง่วงที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย สมุนไพรที่เลือกใช้ คือ พริกขี้หนูแดง (Capsicum frutescens L.), พริกเหลือง (Capsicum annuum Linn. var. acuminatum Fingarh.) และ พริกชี้ฟ้าแดง (Capsicum annuum Linn. var. acuminatum Fingarh.) สูตรเครื่องดื่มเข้มข้นที่คงตัวประกอบด้วยน้ำคั้นพริกขี้หนู ,พริกเหลืองและพริกชี้ฟ้าแดงความเข้มข้นร้อยละ 30, 50และ60 โดยปริมาตรตามลำดับ ส่วนประกอบอื่นๆได้แก่ gum tragacanth, acesulfame-K, กรดซิตริก, โซเดียมคลอไรด์และสารแต่งกลิ่น ทำการประเมินผลิตภัณฑ์แก้ง่วงในอาสาสมัครซึ่งเป็นนักศึกษาหญิง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 20 คน แปลผลทางสถิติด้วย Analysis of Variance พบว่า การฉีดพ่นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเข้มข้นทางปากทำให้ค่าความดัน systolic, diastolic , อัตราการเต้นของหัวใจ และค่าความดันเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนและหลังการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเข้มข้นที่ไม่มีน้ำคั้นพริกทั้ง 3 ชนิด สำหรับการประเมินโดย Home Use Test ในอาสาสมัครจำนวน 100 คนโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนที่อ่านหนังสือ และกลุ่มคนที่ขับรถเพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาที่เริ่มรู้สึกตื่นตัวหายง่วงและระยะเวลาที่คงความรู้สึกตื่นตัวอยู่หลังฉีดพ่นผลิตภัณฑ์พริกขี้หนูแดง,พริกเหลืองและพริกชี้ฟ้าแดง พบว่า ผลิตภัณฑ์พริกขี้หนูแดงมีระยะเวลาที่เริ่มรู้สึกตื่นตัวหายง่วงเร็วกว่าและระยะเวลาที่คงความรู้สึกตื่นตัวอยู่ยาวนานกว่าในผลิตภัณฑ์พริกชี้ฟ้าแดงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)แต่ไม่ต่างจากผลิตภัณฑ์พริกเหลือง ในทั้ง 2 กลุ่ม ยกเว้นในกลุ่มคนที่ขับรถพบว่าผลิตภัณฑ์พริกขี้หนูแดงมีระยะเวลาที่เริ่มรู้สึกตื่นตัวหายง่วงเร็วกว่าผลิตภัณฑ์พริกเหลืองและพริกชี้ฟ้าแดงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) |
abstract: Three concentrated beverage sprays from herbal extracts, were developed, in order to replace stimulating products which were detrimental to health. Phrik Kheenuu Daeng (Capsicum frutescens L., Red Bird Pepper), Phrik Lueng (Capsicum annuum Linn. var. acuminatum Fingarh, Phrik Cheefaa Daeng (Capsicum annuum Linn. var. acuminatum Fingarh, Chilli Spur Pepper) were selected for the development. Three concentrated beverage formulae consisted of Phrik Kheenuu Daeng, Phrik Lueng, and Phrik Cheefaa Daeng juices at 30, 50, and 60 % by volume, respectively, gum tragacanth, acesulfame-K, citric acid, sodium chloride, and flavoring agents. The three concentrated beverages, along with control formulae, were evaluated among 20 female pharmacy students of Faculty of Pharmacy, Mahidol University. The results were analyzed using Analysis of Variance. The concentrated beverages caused significant increase (P<0.05) in systolic blood pressure, diastolic blood pressure, heart rate, and mean arterial pressure immediately after administration, compared to the control formulae. In Home UsTest, the three concentrated beverages were distributed among 100 people, divided into 2 groups. Group 1 consisted of people who read while Group 2 consisted of those who drove cars. It was found that Phrik Kheenuu Daeng formula exhibited shorter onset of stimulation and longer duration time than Phrik Cheefaa Daeng formula, but was not different from Phrik Lueng formula in both groups. The exception was in Group 2 where Phrik Khneeuu Daeng formula exhibited the shorter onset of stimulation than the other two formulae (P< 0.05). |
. |