อิทธิพลของภาวะพหุสัณฐานทางพันธุกรรมของยีน CYP2C19 ต่อผลการรักษาและอาการไม่พึงประสงค์ ในผู้ที่ได้รับยา Proton Pump Inhibitors |
โดย: นางสาวภนิตา สุขอยู่, นางสาวศิริพรรณ พงษ์จินดาทิพย์ ปีการศึกษา: 2557 กลุ่มที่: 47 อาจารย์ที่ปรึกษา: จิระพรรณ จิตติคุณ , อุษา ฉายเกล็ดแก้ว ภาควิชา: ภาควิชาชีวเคมี Keyword: Proton pump inhibitor, Genetic polymorphism, Systematic review, Meta-analysis, Proton pump inhibitor, Genetic polymorphism, Systematic review, Meta-analysis |
บทคัดย่อ: ยาในกลุ่ม Proton pump inhibitors (PPIs) เป็นยาที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในการรักษาโรคในระบบทางเดินทางอาหาร โดยยาถูกเมแทบอไลต์โดยเอนไซม์ CYP2C19 เป็นส่วนใหญ่ดังนั้นภาวะพหุสัณฐานทางพันธุกรรมของ CYP2C19 ส่งผลต่อระดับเมแทบอไลต์ของยา PPIs การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมหลักฐานทางวิชาการและประเมินอิทธิพลของภาวะพหุ-สัณฐานทางพันธุกรรมของยีน CYP2C19 ต่อผลการรักษาและอาการไม่พึงประสงค์ในผู้ที่ได้รับ PPIs โดยการสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์คือ Pubmed และ Scopus ซึ่งกาหนดผลลัพธ์เป็น mean intragastric pH และ cure rate ใช้ค่า Relative risk (RR) และ pooled mean difference (MD) ในการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มhomogenous extensive metabolizer (HomEM หรือ EM), heterogenous extensive metabolizer (HetEM หรือ IM) และ poor metabolizer (PM) ซึ่งใช้โปรแกรมในการวิเคราะห์ทางสถิติคือ Revman 5.3 โดยแบ่งผลอภิ-วิเคราะห์เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่ได้รับยา PPIs และกลุ่มที่สองได้รับยา PPIs ร่วมกับยาปฏิชีวนะ ซึ่งผลในกลุ่มแรก พบว่า mean intragastric pH ของกลุ่ม PM มีค่าสูงกว่ากลุ่ม HomEM และกลุ่ม HomEM+HetEM (IM) โดยมี mean intragastric pH เท่ากับ 1.62 (95%Cl[0.91,2.33]) และ 1.33 (95%Cl[0.74,1.92]) ตามลาดับ แต่เมื่อพิจารณา cure rate พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ สอดคล้องกับผลลัพธ์ของกลุ่มที่สองทั้ง Intention to treat และ Per- protocol ซึ่งพบว่า cure rate ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติเช่นกัน นอกจากนี้ในงานวิจัยพบอาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่รุนแรง เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ เวียนหัว ท้องเสีย และผื่นที่ผิวหนัง เป็นต้น |
abstract: Proton pump inhibitors (PPIs) are extensively used for the treatment of gastrointestinal tract diseases, which mainly metabolized by CYP2C19 enzyme. Thereby, genetic polymorphisms of CYP2C19 effect to the metabolism of PPIs. This study aimed to review evidences and evaluate the influence of genetic variation in CYP2C19 gene on drug responsiveness and adverse drug reaction in people receiving PPIs. This study was identified by searching Pubmed and Scopus. Mean intragastric pH (mean pH) and cure rate were collected outcomes. Relative risk (RR) and pooled mean difference (MD) were compared between the people with homozygous extensive metabolizer (HomEM or EM), heterogenous extensive metabolizer (HetEM or IM) and poor metabolizer (PM) using the Revman 5.3 software. There were two major subgroup analysis. The first group was received PPIs. Although mean pH of PM was higher than HomEM (MD=1.62, 95%Cl:0.91,2.33) and HomEM+HetEM (IM) (MD=1.33,95%Cl:0.74 ,1.92) but there was no statistically significant in cure rate. The second group was received both PPIs together with antibiotics. The results indicated that intention to treat and per protocol were no statistically significant in cure rate too. Moreover, this study illustrated mild adverse effect such as headache, nausea, dizziness, diarrhea and skin rash. |
. |