ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของพืชสีม่วงแดง

โดย: จันทิมา โสภณสกุลแก้ว, จารุวรรณ งามขำ    ปีการศึกษา: 2553    กลุ่มที่: 47

อาจารย์ที่ปรึกษา: ยุวดี วงษ์กระจ่าง , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , เพ็ญโฉม พึ่งวิชา , สมใจ นครชัย    ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา

Keyword: ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, กะเพราแดง, ตะขบ, มะเขือเปราะม่วง, ว่านกาบหอย, หม่อน, ผักปลังแดง, antioxidant, Holy Basil, Manila cherry, Egg plant, Oyster plant, Mulberry, Malabar spinach
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของพืชสีม่วงแดงจำนวน 6 ชนิด คือ ใบกะเพราแดง, ผลตะขบ, ผลมะเขือเปราะม่วง, ใบว่านกาบหอย, ผลหม่อน และผักปลังแดง โดยทำการสกัด 2 วิธี พืชอวบน้ำจะใช้วิธีการสกัดโดยนำมาแยกส่วนน้ำ และนำกากที่ได้สกัดด้วย methanol 80 % ส่วนพืชชนิดอื่นนำมาอบแห้ง แล้วสกัดด้วย methanol 80% และทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ 3 วิธี คือ DPPH scavenging assay, Thiobarbituric acid reactive substance (TBARS) assay และ Reducing power assay ผลการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบค่า IC50 โดยวิธี DPPH method พบว่า สารสกัดจากผลตะขบส่วนกากมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด รองลงมาคือ สารสกัดจากใบกะเพราแดง, สารสกัดจากผลมะเขือเปราะม่วง, สารสกัดจากผลตะขบสดทั้งลูก, สารสกัดจากใบว่านกาบหอย, สารสกัดจากผลหม่อน และสารสกัดจากผักปลังแดง โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 174.87, 176.70, 347.80, 391.92, 574.40, 1,844.46 และ 2,420.05 µg/ml ตามลำดับ และค่า IC50ของสารมาตรฐานคือวิตามิน ซี และ trolox มีค่าเท่ากับ 16.17 และ 27.85 µg/ml ส่วนวิธีที่สองคือ Thiobarbituric acid reactive substance (TBARS) assay พบว่าสารสกัดจากผลมะเขือเปราะม่วงมีฤทธิ์มากที่สุดในการยับยั้งการทำลาย linoleic acid ซึ่งเป็นตัวแทนของการเกิด lipid peroxidation รองลงมาคือ สารสกัดจากผลตะขบส่วนกาก, สารสกัดจากผลตะขบสดทั้งลูก, สารสกัดจากใบกะเพราแดง, สารสกัดจากใบว่านกาบหอย, สารสกัดจากผลหม่อน และสารสกัดจากผักปลังแดง ตามลำดับ และวิธีสุดท้ายคือ Reducing power assay พบว่าฤทธิ์ในการทำให้เกิดปฏิกิริยา reduction ของสารสกัดจากผลตะขบส่วนกากมีค่ามากที่สุด รองลงมาคือ สารสกัดจากใบกะเพราแดง, สารสกัดจากผลมะเขือเปราะม่วง, สารสกัดจากผลตะขบสดทั้งลูก, สารสกัดจากใบว่านกาบหอย, สารสกัดจากผักปลังแดง และจากสารสกัดจากผลหม่อน ตามลำดับ การตรวจสอบทางเคมีเบื้องต้น พบว่า สารสกัดของพืชสมุนไพรทั้ง 6 ชนิด มีสารกลุ่ม phenolic compound, tannin และ flavonoid ส่วนสารกลุ่ม anthocyanin พบเฉพาะในสารสกัดจากผลหม่อน
abstract:
The purpose of this project was to evaluation the antioxidant activity of six purplish red herbs: Ocimum sanctum L. (Holy Basil) leaves, Muntingia calabura L.R. (Manila cherry) fruit, Solanum melongena L. (Egg plant) fruit, Tradescantia spathacea S. (Oyster plant) leaves, Morus alba L. (Mulberry) fruit, and Basella alba L. (Malabar spinach). Two processes of extraction were carried out. Succulent herbs were pressed for juice and the marc was then extracted by 80% methanol. The other herbs were dried then extracted by 80% methanol. The scavenging properties were detected by DPPH method, Thiobarbituric acid reactive substance (TBARS) assay and Reducing power assay. From DPPH method, it was shown that the extract obtained from Manila cherry fruit marc possessed the most potent properties (IC50 174.87,µg/ml), while the Holy Basil leaf extract, the Egg plant fruit extract, the Manila cherry fruit extract, the Oyster plant leaf extract, the Mulberry fruit extract, and the Malabar spinach extract had IC50 at the concentration of 176.70, 347.80, 391.92, 574.40, 1,844.46 and 2,420.05 µg/ml respectively. The IC50 concentration of Vitamin C and Trolox were 16.17 and 27.85 µg/ml respectively. From Thiobarbituric acid reactive substance (TBARS) assay, it was found that the Egg plant fruit extract showed the most potency to restrain the dissolution of linoleic acid which referred to prevention of lipid peroxidation. From Reducing power assay, it was showed that the extract from Manila cherry fruit marc had the most potency to produce the reduction. According to the chemical approval, it was found that all extracts contained phenolic compounds, tannin and flavonoid. Anthocyanin was found only in the Mulberry fruit extract.
.