การทบทวนเอกสารอย่างเป็นระบบและการอภิวิเคราะห์ผลของนาพรอกเซน โซเดียมในการรักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนแบบเฉียบพลัน |
โดย: ภคนิจ เทพวิทักษ์กิจ, วรชาติ เลิศพิภพเมธา ปีการศึกษา: 2551 กลุ่มที่: 47 อาจารย์ที่ปรึกษา: เนติ สุขสมบูรณ์ , ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: นาพรอกเซน โซเดียม, ปวดศีรษะ, การทบทวนเอกสารอย่างเป็นระบบ, การอภิวิเคราะห์, Naproxane Sodium, Migraine, Systemic reviews, Meta-analysis |
บทคัดย่อ: นาพรอกเซน โซเดียม เป็นยาบรรเทาอาการอักเสบที่มิใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) ที่นิยมนำมาใช้ เพื่อรักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนแบบเฉียบพลัน มีการศึกษาทางคลีนิคถึงผลของนาพรอกเซน โซเดียม กับการรักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนหลายงานวิจัย ผู้วิจัยจึงได้ทำการทบทวนเอกสารอย่างเป็นระบบ (Systematic review) และการอภิวิเคราะห์ (Meta-analysis) ถึงผลดังกล่าวของ นาพรอกเซน โซเดียม คำที่ใช้สืบค้นในงานวิจัยคือ “naproxen sodium” และ “migraine” โดยสืบค้นจากฐานข้อมูล “Medline”, “Embase”, “Cochrane”,“Blackwell”,“Science direct” และ“Scopus” ระหว่างปี ค.ศ. 1985-2008 โดยจำกัดเพียงงานวิจัยชนิด randomized controlled trials (RCT) ผลการสืบค้นพบ 18 รายงานการวิจัยที่ศึกษาผลของ นาพรอกเซน โซเดียม ในการรักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนแบบ เฉียบพลัน และมีเพียง 4 รายงานการศึกษาที่เข้าเกณฑ์การศึกษาอภิวิเคราะห์ เช่น มีการเปรียบเทียบยา หลอก, มีการวัดประสิทธิผลของยาที่ 2 ชม. และมี Jadad score ตั้งแต่ 3 คะแนนขึ้นไป เป็นต้น โดยรวมจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 2,168 คน ผลของการอภิวิเคราะห์พบว่า นาพรอกเซน โซเดียม ในขนาด 500-825 มิลลิกรัม มี ประสิทธิภาพกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการลดอาการปวดศีรษะไมเกรนจากระดับปวด มากหรือปานกลางเหลือเพียงปวดน้อยหรือไม่ปวดที่เวลา 2 ชั่วโมง (RR=1.58, 95%CI=1.41-1.77, p<0.00001; NNT=7), ทำให้ไม่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนที่เวลา 2 ชั่วโมง (RR=2.22, 95%CI=1.46- 3.37, p=0.0002; NNT=10), ทำให้หายจากอาการคลื่นไส้, อาการกลัวแสงและอาการกลัวเสียงที่เวลา 2 ชั่วโมง (RR=1.78, 95%CI=1.17-2.69, p=0.007; RR=1.73, 95%CI=1.43-2.10, p<0.00001; RR=1.68, 95%CI=1.40-2.02 p<0.00001 ตามลำดับ), ความสามารถในการลดอาการปวดศีรษะไม เกรนจากระดับปวดมากหรือปานกลางเหลือเพียงปวดน้อยหรือไม่ปวดที่เวลา 2 ถึง 24 ชั่วโมง (RR=1.69, 95%CI=1.45-1.99, p<0.00001) และความสามารถในการทำให้ผู้ป่วยไม่มีอาการปวด ศีรษะไมเกรนตั้งแต่เวลา 2 ถึง 24 ชั่วโมง (RR=1.95, 95%CI=1.21-3.13, p=0.006) ส่วนการกลับมา เป็นซ้ำของอาการปวดศีรษะไมเกรน พบว่าทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัยทางสถิติ (RR=0.83, 95%CI=0.55-1.28, p=0.40) ส่วนการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ พบว่านาพรอกเซน โซเดียมมีการเกิดอาการไม่พึงประสงค์มากกว่ายาหลอก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (RR=1.29, 95%CI=1.04-1.60, p=0.02) จากผลการอภิวิเคราะห์สรุปได้ว่า นาพรอกเซน โซเดียม สามารถใช้รักษาโรคปวดศีรษะ ไมเกรนแบบเฉียบพลันได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
abstract: Naproxen sodium is non-steroidal anti-inflammatory drug (NSAIDs) which has been frequently used in acute treatment of migraine. There were many clinical studies investigating this effect of naproxen sodium. We have performed systematic review and meta-analysis of these studies. The following medical subject heading search terms “naproxen sodium” and “migraine” were searched in “Medline”, “Embase”, “Cochrane”, “Blackwell”, “Science direct” and “Scopus” from 1985 to 2008. In this search, only randomized controlled trials (RCT) were recruited. It was found that eighteen papers from these databases involved the acute treatment of migraine. Four studies from eighteen papers were eligible for meta-analysis. The criteria included studies that have placebo control arm, effective of drug at 2 hours and Jadad score ≥ 3 points. The total number patients from these four studies were 2,168. The results from meta-analysis revealed that naproxen sodium 500-825 mg was statistically significant more effective than placebo in relieving pain from severe or moderate to mild or no pain at 2 hours (RR=1.58, 95%CI=1.41-1.77, p<0.00001; NNT=7), pain free at 2 hours (RR=2.22, 95%CI=1.46-3.37, p=0.0002; NNT=10), absence of nausea, photophobia and phonophobia at 2 hours (RR=1.78, 95%CI=1.17-2.69, p=0.007; RR=1.73, 95%CI=1.43-2.10, p<0.00001; RR=1.68, 95%CI=1.40-2.02 p<0.00001, respectively), sustained headache relief at 2 to 24 hours (RR=1.69, 95%CI=1.45-1.99, p<0.00001) and sustained pain free at 2 to 24 hours (RR=1.95, 95%CI=1.21-3.13, p=0.006). There is no significant difference between naproxen sodium and placebo in headache recurrence (RR=0.83, 95%CI=0.55-1.28, p=0.40). The adverse effect of naproxen sodium was significant higher than placebo group. (RR=1.29, 95%CI=1.04-1.60, p=0.02). From the meta-analysis results, it was concluded that naproxen sodium was effective in acute treatment of migraine. |
. |