การขายยาผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก: ผลจากมาตรการกากับดูแล

โดย: นายธนพล คูหารัตนไชย,นางสาวสิรีธร ลีห์อร่ามวัฒน์    ปีการศึกษา: 2559    กลุ่มที่: 46

อาจารย์ที่ปรึกษา: ฟ้าใส จันท์จารุภรณ์ , ชะอรสิน สุขศรีวงศ์ , สินีนาฏ กริชชาญชัย    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: มาตรการกากับดูแล ผลกระทบ การซื้อขายยา ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์, regulation, measure, impact, online pharmacy, electronic channel
บทคัดย่อ:
ปัจจุบันการซื้อขายสินค้าประเภทต่างๆ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากความสะดวกสบาย มีความครอบคลุม และประหยัดเวลา ยาก็เป็นสินค้าที่มีการซื้อขายผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่น้อย ทาให้เกิดผลเสียจากการใช้ยาอย่างไม่ถูกต้อง กฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายยาผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ถูกบัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ซึ่งระบุว่าการขายยาจะต้องทาในสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเท่านั้น โดยไม่ได้มีกฎหมายที่ควบคุมการซื้อขายยาผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์โดยตรง โครงการนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสถานการณ์และกฎหมายหรือมาตรการกากับดูแลการซื้อขายยาผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงผลจากการมีกฎหมายหรือมาตรการเหล่านั้น ในต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ รวมทั้งประเทศไทย เพื่อนามาเสนอแนะเป็นแนวทางในการพัฒนากฎหมายหรือมาตรการกากับดูแลการซื้อขายยาผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สาหรับประเทศไทย โดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา จาแนกผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็น 3 หัวข้อที่น่าสนใจ ได้แก่ ผลกระทบด้านสุขภาพซึ่งเกิดจากมาตรการกากับดูแลที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ การดาเนินมาตรการกากับดูแลเพื่อควบคุมการขายยาผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ และผลกระทบด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีรายงานการเกิดผลกระทบด้านสุขภาพมากที่สุด และสหราชอาณาจักรมีรายงานการดาเนินมาตรการกากับดูแลและพบผลกระทบด้านอื่นๆ มากที่สุด ดังนั้น มาตรการการควบคุมการซื้อขายยาผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของสหราชอาณาจักรจึงเหมาะสมที่จะนาใช้เป็นหลักในการเสนอแนะแนวทางกากับดูแลสาหรับประเทศไทย
abstract:
Online shopping is becoming more popular nowadays because it is convenient, global reach and time saving. Medicine is also found to be sold via this electronic channel. Owing to this, it inevitably leads to negative consequences. Thailand has yet to impose certain measures on online pharmacies. Thai regulation only states in the Drug Act B.E.2510 that modern drugs must be sold in the premises stated in the selling license. This special project aims to study current situations and measures related to online pharmacies and outcomes of these measures in the United State of America (USA), United Kingdom (UK), Canada, Australia, Singapore and Thailand in order to provide suggestions for developing proper regulations of online pharmacies in Thailand. In this study, content analysis technique is adopted. The impacts of online pharmacy regulations were categorized into three main interesting issues which are (1) the impact on health outcomes due to ineffective regulations (2) measures and actions applied on online pharmacies cases and (3) others outcomes. The result showed that the highest number of health outcomes reports was found in Thailand whereas the highest number of reports on measures and action used and other problems was found in the UK. Accordingly, the study suggests that the regulations for online pharmacies in Thailand should be developed based on the UK’s measures and regulations.
.