การติดตามและประเมินความรู้ของผู้ป่วยที่แพ้ยาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี

โดย: เพ็ญลักษณ์ แก้วทอง, ภวินา คุณาพรไพโรจน์    ปีการศึกษา: 2554    กลุ่มที่: 46

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปราโมทย์ ตระกูลเพียรกิจ , พญ.ทิชา ลิ้มสุวรรณ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ประวัติแพ้ยา, ความรู้ของผู้ป่วย, โรงพยาบาลรามาธิบดี, Drug allergy history, patients’ knowledge, Ramathibodi Hospital
บทคัดย่อ:
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อติดตามและสำรวจความรู้ของผู้ป่วยที่เกิดเหตุการณ์ที่สงสัยว่าแพ้ยาขณะพักรักษาในโรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ซึ่งได้รับการประเมินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ โดยผู้วิจัยทบทวนการแพ้ยาจากบันทึกการรับคำปรึกษาของแพทย์สาขาภูมิแพ้และบันทึกข้อมูลการแพ้ยา จากนั้นสร้างแนวทางการสัมภาษณ์โดยผ่านการรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา แล้วจึงติดตามและประเมินความรู้เกี่ยวกับการแพ้ยาของผู้ป่วยโดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยตอบรับเข้าร่วมโครงการ 50 คน จากผู้ป่วย 88 คนที่ได้ทบทวนประวัติการแพ้ยา โดยเป็นผู้ป่วยที่เกิดแพ้ยาจริง 37 คน (ร้อยละ 74.0) อาการไม่พึงประสงค์จากยาชนิด A 5 คน (ร้อยละ 10.0) และไม่ได้แพ้ยา 8 คน (ร้อยละ 16.0) เมื่อประเมินการรับรู้ของผู้ป่วยพบว่าผู้ป่วยที่แพ้ยาจริง 37 คน มี 21 คน (ร้อยละ 56.8) รับรู้ว่าตนเองแพ้ยาจริง ในขณะที่ 6 คน (ร้อยละ 16.2) รับรู้ว่าตนเองไม่ได้แพ้ยา และ 5 คน (ร้อยละ 13.5) จำไม่ได้ ขณะที่ผู้ป่วย 3 คน (ร้อยละ 60.0) จาก 5 คนที่เป็นอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาชนิด A รับรู้ว่าตนเองไม่แพ้ยา และ 1 คน (ร้อยละ 20.0) จำไม่ได้ ผู้ป่วยอีก 4 คน (ร้อยละ 50.0) จาก 8 คนที่ไม่ได้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา รับรู้ว่าตนเองไม่แพ้ยา และจำไมได้ 1 คน (ร้อยละ 12.5) นอกจากนี้ผู้ป่วย 20 คน (ร้อยละ 54.1) ที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาชนิด B ไม่เคยแสดงบัตรแพ้ยาที่โรงพยาบาลออกให้เวลาไปพบแพทย์ ดังนั้นการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการแพ้ยาให้กับผู้ป่วยก่อนออกจากโรงพยาบาลจึงเป็นเรื่องที่ควรดำเนินอย่างจริงจัง
abstract:
The objective of this project was to monitor and evaluate patients’ knowledge of their drug allergy history whom were admitted and consulted for suspected drug allergic reaction in Ramathibodi Hospital between August 2008 and February 2009. The allergy consultation medical charts were reviewed. Diagnosis of drug allergy was based on the opinion of consulting allergist with/or without drug allergy testing. Then drug allergy history information was recorded. Telephone interview questionnaire was constructed and approved by project advisors. Of 88 patients with history suspected drug allergic reaction, 50 were recruited. Thirty-seven patients (74.0%) were verified as type B adverse drug reaction (ADR); 5 (10.0%) as type A ADR, and 8 (16.0%) as non ADR. Of 37 patients with type B ADR, 21 (56.8%) correctly recall their drug allergic reaction, 6 (16.2%) perceived that they have not had drug allergy reaction, whereas 5 (13.5%) could not recall about their drug allergy history. Three out of 5 patients (60.0%) with type A ADR correctly perceived that they have not had drug allergy, whereas 1 (20.0%) could not recall about ADR history. Four out of 8 (50.0%) with non ADR correctly perceived that they have not had drug allergy, whereas 1 (12.5%) could not recall about ADR history. In addition, 20 patients (54.1%) who had history of suspected drug allergy have never presented their drug allergy’s cards to health care professional. This study should emphasize that drug allergy counseling before patients’ discharge from hospital should be seriously performed.
.