การพัฒนาตำรับยารักษาสิวคลินดามัยซิน

โดย: เอกชัย ศุภกิจอนันต์คุณ,โอฆวัจน์ ทรงกำพล,ระวีรัตน์ เล้าตระกูล    ปีการศึกษา: 2537    กลุ่มที่: 46

อาจารย์ที่ปรึกษา: สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร , ม.ล.สุมาลย์ สาระยา    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: การพัฒนาตำรับยารักษาสิวคลินดามัยซิน,
บทคัดย่อ:
การวิจัยนี้ศึกษาการพัฒนาตำรับยารักษาสิว คลินดามัยซินในรูปเจล โดยใช้ N-O-carboxymethyl chitosan (NOCC) 2%, hydroxypropyl methyl cellulose (HPMC) 2% และ carboxymethyl cellulose (CMC) 2% เป็นสารก่อเจล เปรียบเทียบกับตำรับยารักษาสิวคลินดามัยซินในรูปสารละลาย นำตัวอย่างเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลานานหนึ่งเดือน แล้วประเมินคุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ความเป็นกรด ด่าง และความหนืดด้วย Brookfield viscometer และประเมินคุณสมบัติทางจุลชีววิทยาด้วยวิธี agar diffusion method ที่เวลา 0, 7, 15, 30 วันจากการศึกษาพบว่าตำรับที่มี NOCC เป็นสารก่อเจลมี pH สูงที่สุด (ประมาณ 7.5) ในขณะที่ตำรับยาในรูปสารละลายมี pH น้อยที่สุด (ประมาณ 4.1) และตำรับที่มี NOCC เป็นสารก่อเจลมีความหนืดต่ำกว่าตำรับอื่นๆเมื่อเก็บไว้นานหนึ่งเดือน ทุกตำรับมีการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดด่างไม่มากนักในขณะที่ความหนืดมีแนวโน้มลดลง จากการทดสอบทางจุลชีววิทยาพบว่าตำรับที่มี NOCC เป็นสารก่อเจลมีความไวต่อเชื้อ Propionibacterium acnesสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับตำรับอื่นๆ จากการศึกษาความไวต่อเชื้อ Propionibacteriumacnes ของ gel base พบว่า NOCC เป็นสารก่อเจลเพียงชนิดเดียวที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อ Propionibacterium acnes และ isopropanol ที่มีอยู่ในตำรับก็มีฤทธิ์ต่อเชื้อ Propionibacterium acnes และเมื่อเก็บไว้นานหนึ่งเดือนทุกตำรับมีความต่อเชื้อ Propionibacterium acnes ลดลงจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า NOCC อาจนำมาใช้เป็นสารก่อเจลในตำรับยารักษาสิวคลินดามัยซิน และอาจมีฤทธิ์เสริมการฆ่าเชื้อ Propionibacterium acnes
abstract:
Formulation of 1% clindamycin gel using 2% gel N-O-carboxymethyl chitosan(NOCC) , 2% hydroxypropyl methyl cellulose (HPMC) and 2% carboxymethyl cellulose (CMC) as a gelling agent were developed in comparison with 1% clindamycin topical solution. The prepared formulations were kept under ambient condition for one month . The physical properties such as pH and viscosity and sensitivity against P . acnes were evaluate at 0 , 7 , 15 , 30 day . The result showed that the formulation containing NOCC as a gelling agent possessed a highest pH about 7.5 whereas the topical possessed a lowest pH about 4.1 . In addition the formulation containing NOCC had a lowest pH . After storing the samples for one month , the change in the pH of all formulations was not clearly observed while the viscosity of all formulations tended to decrease . The result of the study against P . acnes demonstrated that the formulation containing NOCC had a highest sensitivity against P . acnes in comparision with other formulations . The study on sensitivity of gel base against P . acnes showed that NOCC as a gelling agent having a sensitivity against P . acnes and isopropyl alcohol in gel base had a sensitivity against P . acnes as well . The sensivity against P . acnes of all formulations decreased after storing for one month at ambient condition . This study demonstrated that NOCC could be used as a gelling agent in clindamycin topical preparation and might have sensitivity against P . acnes .
.