การประเมินความเหมาะสมในการใช้ยาปฏิชีวนะ ในโรคติดเชื้อทางผิวหนังโดยเภสัชกรชุมชน

โดย: ชยากานต์ กาญจนคเชนทร์, พจนาถ สุขช่วง    ปีการศึกษา: 2554    กลุ่มที่: 45

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปรีชา มนทกานติกุล , เฉลิมศรี ภุมมางกูร , ศรันย์ กอสนาน    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ความเหมาะสม, ยาปฏิชีวนะ, โรคผิวหนัง, โรคผิวหนังชนิดติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ, เภสัชกรชุมชน, appropriateness, antibiotic, skin diseases, community pharmacist
บทคัดย่อ:
ผู้ป่วยโรคผิวหนังที่มาขอคาปรึกษาจากเภสัชกรในร้านยามีทั้งโรคผิวหนังชนิดติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ การจ่ายยาให้เหมาะสมจึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของเภสัชกรชุมชน โครงการพิเศษนี้จึงจัดทาขึ้นเพื่อศึกษาความรู้ในการวินิจฉัยโรคผิวหนังที่มีรอยโรคคล้ายกันและความรู้ในการเลือกจ่ายยารักษาโรคผิวหนังชนิดติดเชื้อและไม่ติดเชื้อของเภสัชกรชุมชน รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ของเภสัชกรชุมชนโดยใช้แบบสอบถามสารวจความคิดเห็นของเภสัชกรที่เข้าร่วมการประชุมวิชาการของสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) แบบสอบถามนี้ประกอบด้วยกรณีศึกษา 9 ข้อ ได้แก่โรคผิวหนังอักเสบจากการแพ้ 3 ข้อ (ข้อ 3, 5 และ 7) โรคงูสวัด 2 ข้อ (ข้อ 1 และ 8) โรคกลาก 2 ข้อ (ข้อ 4 และ 6) และโรคแผลพุพอง 2 ข้อ (ข้อ 2 และ 9) ผลการศึกษาพบว่า เภสัชกรตอบแบบสอบถามจานวน 109 คน เพศชาย 53 คน (ร้อยละ 48.6) และเพศหญิง 56 คน (ร้อยละ 51.4) อายุระหว่าง 23-75 ปี ส่วนใหญ่ทางานเป็นเภสัชกรเต็มเวลา 69 คน (ร้อยละ 63.3) โรคที่เภสัชกรวินิจฉัยถูกต้องมากกว่าร้อยละ 80 คือ โรคผิวหนังอักเสบจากการแพ้ (ข้อ 5, ร้อยละ 94.0 และข้อ 7, ร้อยละ 95.9)และโรคงูสวัด (ข้อ1, ร้อยละ 84.3) นอกจากนี้ยังพบปัจจัยที่สัมพันธ์กับการวินิจฉัยได้ถูกต้องอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) คือการรับรองคุณภาพร้านยา ส่วนโรคผิวหนังที่เภสัชกรเลือกใช้ยาทาเฉพาะที่และยากินได้อย่างเหมาะสมมากที่สุดคือ โรคกลาก (ข้อ 4, ร้อยละ 83.5) และโรคผิวหนังอักเสบจากการแพ้ (ข้อ 7, ร้อยละ 87.5)และยังพบปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการจ่ายยาทาเฉพาะที่และยากินเหมาะสมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ได้แก่สถานภาพการทางานของเภสัชกร และการวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง งานวิจัยนี้สรุปว่าเภสัชกรชุมชนวินิจฉัยและจ่ายยาปฏิชีวนะสาหรับโรคผิวหนังบางชนิดได้อย่างเหมาะสม ซึ่งผลการวิจัยนี้สามารถนาไปใช้เพื่อกาหนดแนวทางพัฒนาความรู้ของเภสัชกรชุมชนเพื่อให้เกิดการรักษาโรคผิวหนังทั้งชนิดติดเชื้อและไม่ติดเชื้อได้อย่างเหมาะสมต่อไปในอนาคต
abstract:
Patients who came to consult community pharmacists for skin diseases can be categorized as infectious and non-infectious skin diseases. Community pharmacists are responsible for selecting appropriate drugs for the patients. This special project was conducted to assess community pharmacists’ knowledge on differential diagnosis, drug dispensing for treatment of skin diseases, and also factor influencing their knowledge. In addition, this project was a survey using questionnaires which were answered by pharmacists attending the Community Pharmacist Association (Thailand) conference. All questionnaires consist of 9 questions related to diagnosis and selecting appropriate treatment for skin diseases including 3 questions of eczema (no. 3, 5, and 7), 2 questions for each of herpes zoster (no. 1, and 8), dermatophytosis (no. 4 and 6), and impetigo (no. 2, and 9). Results showed that 109 pharmacists (53 male, 56 female), age between 23 and 75, answered the questionnaires; 69 persons (63.3%) are fulltime pharmacists. More than 80% of questions about diagnosis of eczematous dermatitis (no.5 [94%] and no.7 [95.9%]), and herpes zoster (no. 1 [84.3%]) were correctly answered. In addition, significant (p<0.05) factor influencing correct diagnosis was practicing in accredited pharmacy. The skin diseases which pharmacists most appropriately choose topical and oral drugs to treat are dermatophytosis (no. 4 [83.5%]) and eczematous dermatitis (no. 7 [87.5%]). Working status and correct diagnosis significantly influenced appropriateness of treatment of pharmacists. In conclusion, community pharmacists can diagnose, and treat some skin diseases appropriately. Result from this study can be used to guide development of community pharmacists’ knowledge for appropriate antimicrobial dispensing for both infectious and non-infectious skin diseases in the future.
.