การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้านเชื้อแบคทีเรียจากสารสกัดเปลือกผลมังคุด

โดย: กวิน บุญณายานนท์, เทพฤทธิ์ ทองสุกมาก    ปีการศึกษา: 2553    กลุ่มที่: 45

อาจารย์ที่ปรึกษา: สมบูรณ์ เจตลีลา , แม้นสรวง วุฒิอุดมเลิศ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: เปลือกมังคุด, สารสกัดเปลือกมังคุด, ต้านเชื้อแบคทีเรีย, อีมัลชั่นเจล , mangosteen fruit peel, mangosteen fruit peel extract, antibacterial, emulsion gel
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้านเชื้อแบคทีเรียจากสารสกัดเปลือกมังคุด เพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์รักษาสิว จากการพัฒนาสูตรตำรับอีมัลชั่นเจลซึ่งมีสารสกัดเอธานอลเข้มข้น จะเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบในแต่ละตำรับคือ Carbomer ในปริมาณ 0.6%, 0.7% หรือ 0.8% w/w Poloxamer ในปริมาณ 4.0% หรือ 5.0% w/w และ Isopropyl Myristate (IPM) ใช้ในปริมาณ 2.0% หรือ 3.0% w/w นำตำรับที่เตรียมได้มาประเมินความหนืด pH และฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย จากการทดลองพบว่าการเพิ่มปริมาณ Carbomer หรือ Poloxamer จะเพิ่มความหนืดของยาเตรียม โดย Carbomer จะมีอิทธิพลมากกว่า ส่วนการเปลี่ยนแปลง IPM มีผลต่อความหนืดของยาเตรียมไม่ชัดเจน ตำรับยาเตรียมมีอยู่ 4 ตำรับที่ให้ความหนืดความเหมาะสมคือ 600 - 700 Cps โดยใช้ Carbomer, Poloxamer และ IPM ในปริมาณ (i) 0.6%, 5.0% และ 2.0% (ii) 0.6%, 5.0% และ 3.0% (iii) 0.7%, 4.0% และ 2.0% และ (iv) 0.7%, 4.0% และ 3.0% ตามลำดับ ส่วนตำรับอื่นจะมีความหนืดที่น้อยหรือมากเกินไปเมื่อเทียบกับ Voltaren® Emulgel® สำหรับค่า pH ของทุกตำรับยาเตรียมสามารถควบคุมให้อยู่ในช่วง 4.5 - 5.5 ซึ่งเหมาะสมที่จะใช้กับบริเวณผิวหน้า ปัญหาที่พบสำหรับผลิตภัณฑ์อีมัลชั่นเจล คือประสิทธิภาพในการต้าน S. aureus, S. epidermidis และ P. acnes ลดลงบ้าง เมื่อเทียบกับสารสกัดเอธานอลจากเปลือกผลมังคุด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าส่วนประกอบในตำรับโดยเฉพาะสารก่อเจลที่หน่วงการปลดปล่อย -mangostin ซึ่งมีผลทำให้ประสิทธิภาพในการต้านเชื้อแบคทีเรียลดลง
abstract:
This special project is aimed to develop anti-bacterial products from the mangosteen fruit peel extract in order to use for acne treatment. Emulsion gels containing concentrated ethanol extract (10.0% w/w), were formulated by changing each component: Carbomer at the amount of 0.6%, 0.7% or 0.8% w/w, Poloxamer at the amount of 4.0% or 5.0% w/w, and isopropyl myristate (IPM) at the amount of 2.0% or 3.0% w/w of the formulation. All formulations were evaluated for their viscosity, pH and antibacterial activity. The results showed that the increased amount of Carbomer or Poloxamer could increase the viscosity of emulsion gel, especially in the case of Carbomer, but not clearly cut for the effect of IPM concentration. It was found that four formulations using Carbomer, Poloxamer and IPM at the amounts as follows: (i) 0.6%, 5.0%, 2.0%; (ii) 0.6%, 5.0%, 3.0%; (iii) 0.7%, 4.0%, 2.0%; and (iv) 0.7%, 4.0%, 3.0%, provided suitable viscosity of 600 - 700 Cps. The other formulations provided too low/high viscosity compared with Voltaren® Emulgel®. The pH value of all formulations could be controlled in the range of 5.5 to 6.5, which is appropriate for a face. It was found that emulsion gels were less effective than ethanol extract with same concentration of -mangostin on antibacterial activity against S. aureus, S. epidermidis and P. acnes. This may be caused by the retarding effect of gel forming agents on the release of -mangostin from the preparations.
.