การใช้ยาของเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานขับรถข.ส.ม.ก.ในกรุงเทพมหานคร 2

โดย: วินัย สยอวรรณ,ศิรินทร์ อะฏะวินทร์    ปีการศึกษา: 2541    กลุ่มที่: 45

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปราณี ใจอาจ , เสริมสิริ วินิจฉัยกุล , เฉลิมศรี ภุมมางกูร    ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
สภาพอากาศในเขตกรุงเทพมหานครปัจจุบันมีมลพิษสูง ทั้งฝุ่นควันที่เป็นอันตรายต่อผู้ที่ต้องสัมผัสหรือทำงานบนท้องถนนทุกวันเช่น เจ้าพนักงานจราจร พนักงานขับรถประจำทาง ซึ่งอาจมีผลต่อสุขภาพหรือความผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจ ประสาทหูเสื่อม รวมทั้งพิษตะกั่วเรื้อรังโครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการใช้ยาของเจ้าพนักงานจราจร และพนักงานขับรถประจำทาง เพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้นรวมทั้งปรับปรุงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการใช้ยาให้ดีขึ้น การสำรวจใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์ เจ้าพนักงานจราจร 100 คน พนักงานขับรถประจำทาง 100 คนโดยตรง วิเคราะห์ข้อมูลและคำนวณเป็นร้อยละ ผลการสำรวจพบว่าสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษทำให้บุคคลทั้ง 2 กลุ่มเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจมากที่สุด คือเจ้าพนักงานจราจรร้อยละ 26 พนักงานขับรถประจำทางร้อยละ 22 เจ้าพนักงานจราจรมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินมากกว่าคือ ร้อยละ 17 ส่วนพนักงานขับรถประจำทางมีเพียงร้อยละ 1 ด้านการดูแลสุขภาพ เจ้าพนักงานจราจรดูแลสุขภาพดีกว่าพนักงานขับรถประจำทาง โดยวิเคราะห์จากพฤติกรรมต่างๆเช่น การดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ร้อยละ 71 เท่ากันทั้ง 2 กลุ่ม แต่เจ้าพนักงานจราจรมีการออกกำลังกายมากกว่าคือร้อยละ 79 ในขณะที่พนักงานขับรถประจำทางร้อยละ 60 ส่วนการตรวจสุขภาพ เจ้าพนักงานจราจรมีการตรวจร้อยละ 93 พนักงานขับรถประจำทางร้อยละ 54 สำหรับการป้องกันตนเองจากมลพิษจากท้องถนน เจ้าพนักงานจราจรใช้อุปกรณ์ป้องกันมลพิษร้อยละ 92 ส่วนพนักงานขับรถประจำทางใช้ร้อยละ 81 ด้านการใช้ยาเจ้าพนักงานจราจรใช้ยาร้อยละ 35 พนักงานขับรถประจำทางร้อยละ 71 ยาที่ใช้ส่วนมากเป็นยากลุ่ม แก้หวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ ซึ่งพบในพนักงานขับรถประจำทางร้อยละ 47 เจ้าพนักงานจราจรร้อยละ 64.44 นอกจากนี้ยังพบอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาและการใช้ยาผิดวัตถุประสงค์ ซึ่งพบในบุคคลทั้ง 2 กลุ่ม ดังนั้นควรให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่บุคคล 2 กลุ่มนี้
abstract:
Nowadays, the environment in Bangkok is heavily polluted by dust and smoke. This polluted encompassment is extremely hazardous to people who work near streets such as metropolitan traffic polices and bus drivers. These people often suffer from respiratory disease, nerve deafness and also have a chronic leaded disease. The present study is aimed to try to analyze the behaviors of health care concern and drug consumption of Bangkok metropolitan traffic polices and bus drivers. Using questionnaires, we interviewed 100 of each of 2 groups. We found that these 2 groups often suffered from respiratory disease with 26% and 22% in traffic polices and bus drivers respectively. We also found that 17% of the traffic polices have hearing problems, while the bus drivers have only 1%. Smoking and drinking alcohol was found the same (71%) in both groups. Because of 79% of the traffic polices often exercise while 60% of the bus drivers, 93% of the traffic polices have their health check while the bus drivers found 54%, so the traffic polices may have more health care concern than the bus drivers. For air pollution problems, 92% of the traffic polices used equipments to prevent themselves from pollution, while 81% of the bus drivers. Most of the drug consumed by these 2 groups is cough & cold remedies, with 47% and 64.44% of the bus drivers and the traffic policemen respectively. The drug abuse and adverse drug reaction were also found in both groups of these people, so counseling of appropriate drug consumption should be given to those people studied.
.