การพัฒนาการละลายของเมฟามิคแอซิดโดยใช้สารไซโคลเดกตรินซ์

โดย: จินดา สิทธิวิเชียรวงศ์,วาทินี เพชรอุดมสินสุข    ปีการศึกษา: 2537    กลุ่มที่: 45

อาจารย์ที่ปรึกษา: สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร , ณัฐนันท์ สินชัยพานิช    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
การวิจัยนี้ศึกษาคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ยาแคปซูลเมฟินามิคแอซิดจากท้องตลาดในประเทศไทยจำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ โดยศึกษาความแปรปรวนของน้ำหนักเวลาที่ใช้ในการแตกตัว และอัตราการละลาย จากการศึกษาพบว่าผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เข้าเกณฑ์มาตรฐานด้านความแปรปรวนของน้ำหนัก ตาม BP 1988 มีเพียงหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เข้ามาตรฐานด้าน เวลาที่ใช้ในการแตกตัวการศึกษานี้พบว่าผลิตภัณฑ์ ยาแคปซูลเมฟินามิคแอซิด มีความแตกต่างในเรื่องอัตราการละลาย ผลิตภัณฑ์ที่ ปลดปล่อยตัวยาออกมาได้ประมาณ 80% มีเพียงหนึ่งผลิตภัณฑ์ ต่อมาได้พัฒนาตำรับยาแคปซูลเมฟินามิคแอซิด โดยใช้ sodium lauryl sulfate เป็นสารลดแรงตึงผิวในช่วงความเข้มข้น 0.5 ถึง 2.0% พบว่าที่เวลา60นาที ปริมาณการละลายของยาแคปซูลเมฟินามิคแอซิด เพิ่มขึ้นประมาณ 10 เท่าเมื่อใช้ sodium lauryl sulfate ในปริมาณ 0.5% และการใช้ sodium lauryl sulfate ในปริมาณเพิ่มขึ้นมีแนวโน้มทำให้ได้ปริมาณการละลายของยาเพิ่มขึ้น แต่การใช้ sodium lauryl-sulfate ในปริมาณ 2.0% ไม่ทำให้ ตำรับยาแคปซูลเมฟินามิคแอซิด ปลดปล่อยตัวยาเพิ่มขึ้นมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับตำรับยาที่ใช้ sodium lauryl sulfate 0.5% การศึกษานี้สรุปได้ว่า การใช้ sodium lauryl sulfate จะช่วยทำให้ผงยาเปียกได้ง่าย ส่งผลให้อัตราการละลายของยาเมฟินามิคแอซิดเพิ่มขึ้น
abstract:
Five brands of mefenamic acid capsules in Thai market were investigated in terms of uniformity of weight , disintegration time and dissolution. The results showed that all products met the requirement of uniformity of weight BP 1988 .Only one in five products did not met the requirement of disintregation time. The discrepancy in dissolution rate among five products was demonstrated. Only one in five products dissolved mefenamic acid form capsules about 80 % at 120 minute. Furthermore, the formulations of mefenamic acid capsules containing sodium lauryl sulfate (SLS) 0%, 0.5%, 1.0%, 1.5% and 2.0% were developed. The percent drug dissolved amout of mefenamic acid capsule containing 0.5% SLS was greater than that containing no SLS about 10 times at 60 minute . As the SLS concentration increased , the percent drug dissolved amout tended to increase. However, the percent drug dissolved of the formulation containing 2.0 % SLS was not so great difference from that of the formulation containing 0.5% SLS .This study demonstrated that an increase in dissolution of mefenamic acid capsule was the result form the wettability of mefenamic acid powder by using sodium lauryl sulfate .
.