การศึกษาวิธีการจัดการคลังยาที่เหมาะสม สาหรับยาที่จาเป็นต่อการช่วยชีวิตในโรงพยาบาลสงฆ์

โดย: นางสาวธัญลักษณ์ ณรงคะชวนะ, นางสาวธันยพร อนุรักษ์สุวรรณ    ปีการศึกษา: 2559    กลุ่มที่: 44

อาจารย์ที่ปรึกษา: สินีนาฏ กริชชาญชัย , ชะอรสิน สุขศรีวงศ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: การบริหารคลังยา, ABC analysis, VEN analysis, Demand pattern analysis, ปริมาณยาสารองต่าสุด, จุดสั่งซื้อ, inventory management, ABC analysis, VEN analysis, Demand pattern analysis, safety stock, Reorder Point
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้จัดทาขึ้นเพื่อศึกษาระบบการจัดการคลังยาและการกระจายยาในโรงพยาบาลสงฆ์ เพื่อให้ทราบปัญหาและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการคลังยา โดยการวิเคราะห์แบบ ABC/VEN matrix ซึ่งเลือกศึกษายากลุ่มที่มีความจาเป็นต่อการช่วยชีวิต (Vital drugs) ที่มีมูลค่าแตกต่างกันเพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษาได้แก่ยา meropenem (AV), dopamine (BV) และ norepinephrine (CV) ช่วงปีงบประมาณ 2558 - 2559 โดยศึกษาการ จัดซื้อยา อัตราการใช้ รูปแบบความต้องการใช้ และปริมาณยาสารองในคลังยาและห้องจ่ายยา จากการวิเคราะห์พบปัญหาเกี่ยวกับปริมาณยาในคลังไม่เหมาะสม โดยมีปัจจัยจากระบบงาน บุคลากร และกระบวนการจัดการคลังยาซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหา ผลการศึกษาพบว่าการบันทึกอัตราการใช้ในระบบไม่สะท้อนกับอัตราการใช้จริงของผู้ป่วย แต่เป็นเพียงอัตราการสั่งใช้ยาจากแพทย์ ในส่วนของห้องยามีการบันทึกข้อมูลลงในระบบอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ทาให้ข้อมูลในระบบไม่ได้สะท้อนปริมาณยาที่แท้จริงที่มีอยู่ในห้องยา ซึ่งจะส่งผลถึงปริมาณการเติมสินค้าคงคลังในห้องยาที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ พบว่าคลังยามีปริมาณยาสารองสูงซึ่งอาจเป็นผลจากการทานายการสั่งซื้อโดยใช้อัตราการสั่งใช้ยาจากแพทย์ จึงเห็นได้ว่าระบบการบันทึกข้อมูลไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลกระทบต่อปริมาณการสั่งซื้อที่คลังยา และการจัดการสินค้าคงคลังที่ห้องยา ทางผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะโดยการปรับปรุงระบบบันทึกข้อมูลกระบวนการจัดซื้อ และการบริหารสินค้าคงคลังควรขึ้นกับปริมาณการใช้ที่แท้จริง และปริมาณสินค้าคงคลังที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในคลังยา และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกลุ่มยาจาเป็นต่อการช่วยชีวิต
abstract:
This special project studied inventory management system and distribution system in the Priest hospital. This aimed to explore the problems and factors affected inventory management particularly for vital drugs. ABC/VEN analysis was employed to categorise the medicines in the hospital based on the value of medicines and the criticality of medicines. Three vital drugs (V) with different values (A, B, and C) were selected which are meropenem (AV), dopamine (BV) and norepinephrine (CV). This study explored procurement process, consumption rate, demand pattern, inventory level in the warehouse and the storerooms during the fiscal year 2015 and 2016. The analysis of this study presented that inefficient stock management caused by factors related system, human and process. It was found that consumption rate did not reflect the actual patient’s consumption but it was the quantity of medicines prescribed by the doctor. The procurement quantity was estimated based this quantity and it leaded to the high volume of purchased products and, as a consequence, a high inventory level. Also, the storeroom does not record the stock level in the system efficiently. Stock record in the system did not reflect the actual physical stock. Poor inventory recordkeeping affected negatively to procurement quantity and inventory management. Hence, the researcher provides the suggestions to improve stock recording system. Procurement process and inventory management should be based on patient’s consumption rate and accurate inventory level. This will enhance inventory cost reduction and an efficient inventory management for the vital drugs.
.