การพัฒนาแผ่นแปะรักษาสิวจากสารสกัดมังคุดDEVELOPMENT OF ANTI-ACNE PATCH FROM THE MANGOSTEEN EXTRACT |
โดย: นางสาวนิศารัตน์ บุญภักดี,นางสาวอังศนา เนตรปฏิภาณ ปีการศึกษา: 2555 กลุ่มที่: 44 อาจารย์ที่ปรึกษา: สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , กฤษณ์ ถิรพันธุ์เมธี ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม Keyword: สิว, สารสกัดมังคุด, แผ่นแปะรักษาสิว, acne, mangosteen extract, anti – acne patch |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับแผ่นแปะสารสกัดมังคุดที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพสาเหตุของการเกิดสิว จากงานวิจัยต่างๆ แสดงให้เห็นว่าสารสกัดเปลือกมังคุดมีสารสำคัญ คือ ?-mangostin ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อ Propionibacterium acnes และ Staphylococcus spp. ที่กระตุ้นการเกิดหนองและสิวอักเสบ ในการศึกษานี้เตรียมสารสกัดเปลือกมังคุดโดยวิธีแช่เปลือกมังคุดใน 95%v/v เอทิลแอลกอฮอล์ ควบคุมคุณภาพของสารสกัดด้วยวิธี TLC-fingerprint และ densitometric method จากนั้นทดสอบฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ P. acnes, S. aureus และ S. epidermidis พบว่าความเข้มข้นที่ต่ำที่สุดของสารสกัดที่สามารถฆ่าเชื้อ P. acnes, S. aureusและ S. epidermidis ได้คือ 0.156, 0.156 และ 0.313 mg/ml ตามลำดับ ดังนั้นความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อทั้ง 3 ชนิดได้คือ 0.313 mg/ml การตั้งตำรับแผ่นแปะใช้ polyvinyl pyrrolidone (PVP), polyvinyl alcohol (PVA), Eudragit?RS - 100 และ Eudragit?RL - 100, กลีเซอรีน และโพรพีลีนไกลคอลในอัตราส่วนต่างๆ เพื่อศึกษาสูตรตำรับที่ดีที่สุดในการเตรียมแผ่นแปะสารสกัดมังคุด และใช้สารสกัดมังคุดในปริมาณเท่ากับความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อทั้ง 3 ชนิด ประเมินคุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ความหนา ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น การยึดติดและฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อทั้ง 3 ชนิดเปรียบเทียบกับ 1% clindamycin ทั้งนี้พบว่าแผ่นแปะสารสกัดมังคุดที่ประกอบด้วย PVP 1.7%w/v และ PVA 3.3%w/v โดยใช้กลีเซอรีน 2% v/v เป็นพลาสติไซเซอร์ มีคุณสมบัติทางกายภาพที่ดีที่สุด และจากการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ พบว่าแผ่นแปะสารสกัดมังคุดมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S. aureus โดยเกิดวงใสเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 1.67 ซม. ขณะที่ clindamycin เกิดวงใสต่อเชื้อ S. aureus ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.73 ซม. อย่างไรก็ตามควรมีการทดสอบความคงตัวของแผ่นแปะสารสกัดมังคุด และศึกษาฤทธิ์การต้านเชื้อที่ก่อให้เกิดสิวในมนุษย์ต่อไป |
abstract: The aim of this special project is to develop mangosteen anti-acne patch.The previous studies show that mangosteen peel extract including active compound, ?-mangostin, has antimicrobial activities against Propionibacterium acnes and Staphylococcus spp. which involves pus–forming and acne inflammation. This study was conducted to prepare mangosteen peel extract by maceration with 95%v/v ethyl alcohol. The quality control of the mangosteen peel extract was performed by TLC-fingerprint and densitometric method. The minimum bactericidal concentration of the extract against P. acnes, S. aureus and S. epidermidis were 0.156, 0.156 and 0.313 mg/ml, respectively, indicating that the concentration against those 3 microorganisms was 0.313 mg/ml. In the patch formulation development, polyvinyl pyrrolidone (PVP), polyvinyl alcohol (PVA), Eudragit?RS - 100, Eudragit?RL - 100, glycerin and propylene glycol were used to obtain the best formula for subsequent formulation of mangosteen anti-acne patch. The anti-acne patch contained the mangosteen extract at the minimum concentration that against those 3 microorganisms. Each patch was assessed in thickness, tensile strength, elasticity, adhesive property and antimicrobial effect comparing with 1% clindamycin. The results indicated that the best mangosteen anti-acne patch formula including PVP 1.7%w/v, PVA 3.3%w/v and glycerin 2%w/v had the clear zone against S. aureus of 1.67 cm in diameter, whereas the clear zone of clindamycin against S. aureus was 3.73 cm in diameter. Nevertheless,this mangosteen anti–acne patch should be tested about stability and clinical studies in further studies. |
. |